วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัตว์เศรษฐกิจ นกกระจอกเทศ


สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก
 สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน
     ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้
ไก่พื้นเมือง กรมปศุสัตว์
     เป็นไก่ที่ทำการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี มีวัตถุประสงค์ให้ไก่มีการพัฒนาคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าเดิมหลายประการ เช่น การเจริญเติบโต มีการพัฒนา การเจริญเติบโตสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งเดิมนั้นเติบโตวันละ 9 กรัม เมื่อได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น สามารถเพิ่มการเติบโตได้วันละ 15 - 21 กรัม ด้วยการให้ผลผลิตไข่ ก็สามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิม 60 ฟองต่อ ปี เป็น 160 - 180 ฟองต่อปี และยังปล่อยเลี้ยงในชนบทได้ง่าย หากินง่าย ฟักไข่ได้เอง เช่นเดียวกับไก่พื้นเมือง ทั่วไป ไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์ มีหลายประเภท ดังนี้
     1. ไก่ 2 สายพันธุ์ เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่พื้นเมือง กับไก่ที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ เช่น พื้นเมือง- โร๊ด พื้นเมือง-บาร์
     2. ไก่ 3 สายพันธุ์ พันธุ์เซี่ยงไฮ้-โร๊ด-บาร์ (SRB) พันธุ์พื้นเมือง - โร๊ด - บาร์ (NRB)
     3. ไก่สายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ พันธุ์ NSRB และพันธุ์ NASRB เป็นการนำเอาพ่อพันธุ์พื้นเมืองผสมกับแม่ 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ จะได้ลูกผสมที่เติบโตเร็ว มีคุณภาพเนื้อดี รสชาดใกล้เคียงกับไก่พื้นเมืองที่เป็นที่ต้องการของตลาด
นกกระจอกเทศ
     เป็นนกที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ดังนั้นจึงมีการนำนกกระจอกเทศไปเลี้ยงกันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย หรือ มาเลเซีย ทั้งนี้ เพราะนกกระจอกเทศมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังให้ผลผลิตมากมาย เช่น หนัง เนื้อ ขน ไข่ ตลอดจนน้ำมัน เป็นต้น
     นกกระจอกเทศ แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ
       1. สายพันธุ์ คอแดง
       2. สายพันธุ์ คอน้ำเงิน
       3. สายพันธุ์ คอดำ
     3 สายพันธุ์ จะแตกต่างกันในเรื่องของการให้ผลผลิตและขนาดเท่านั้น ส่วนลักษณะที่ปรากฎภายนอกจะเหมือนกัน
ลักษณะจำเพาะ  เพศผู้ - มีขนสีดำ ยกเว้น ปลายปีกและขนหางจะมีสีขาว สูง 2.65 - 270 ซม. หนัก 100 - 165 กก. เพศเมีย - ขนสีน้ำตาลเทา สูง 175 - 230 ซม. หนัก 90 - 155 กก.
การให้ผลตอบแทน
     นกกระจอกเทศ เมื่อมีอายุประมาณ 10 - 14 เดือน ถือว่าเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 90 - 110 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่เหมาะสมที่จะส่งไปแปรรูป และจะให้ผลผลิตดังนี้
หนัง
     นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะแตกต่างกันถึง 3 แบบ คือ หนังส่วนแข้ง หนังต้นขา และหนังบริเวณหลัง โดยแต่ละตัวจะให้หนังที่มี คุณภาพดีขนาด 1.1 - 1.5 ตารางเมตร ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น รองเท้าบู้ต กระเป๋า เสื้อแจ็คเก็ต เข็มขัด เป็นต้น 
  เนื้อ
     เนื้อนกกระจอกเทศจะมีข้อดีที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และทุกชาติศาสนา สามารถบริโภคได้
ขน
     มีลักษณะอ่อนนุ่ม และมีไขมัน ใช้เป็นเครื่องประดับเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ทำไม้ ปัดฝุ่น สำหรับเครื่องอิเลคโทรนิค เป็นต้น ซึ่งแต่ละปี จะให้ผลผลิตขนประมาณ 1.0 -1.2 กก.
น้ำมัน
     เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำเครื่องสำอางค์ เพราะดูดซึมเข้าผิวหนัง ได้เร็วและไม่เหนียวเหนอะหนะ ช่วยในการบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี
ไข่และเปลือกไข่
     ไข่นกกระจอกเทศ สามารถนำมาบริโภคได้ และมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับไข่เป็ด ไข่ไก่ นอกจากนี้ เปลือกไข่ยังไปตกแต่งลวดลาย แกะสลัก ทำโคมไฟ เป็นเครื่องประดับหรือของที่ระลึกได้เป็นอย่างดี
  คุณลักษณะ  ผลตอบแทน
   ระยะเวลาฟักไข่ (วัน)                       42
   การให้ลูก (ตัว/ปี/แม่)                        20
   อัตราการแลกเนื้อ (FCR)                   2-3:1
   อายุส่งโรงงานแปรรูป (เดือน)          10-14
   ผลผลิตหนัง (ชิ้น/แม่)                       20
   ผลผลิตเนื้อ (กก./แม่)                      750-850
   ผลผลิตขน(กก./แม่)                           20-25
   ผลผลิตน้ำมัน (กก./แม่)                     40-60
   พื้นที่เลี้ยงดู (ตัว/ไร่)                             3
   ระยะเวลาให้ผลผลิต (ปี)                     25-30
ที่มา http://www.tkc.go.th/wiki/show/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น