วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พ่อกบช่วยลูกจากน้ำแห้ง




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=3GlUIzTtkL8&feature=related

แมวแกล้งหมา



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=2aRRwSW5cw8&feature=related

ยังไม่รู้ตัวอีกว่าเครื่องปริ้นเสีย



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=foLFQs_pf64&feature=fvwrel

รวมสัตว์ฮาๆ




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=dixDjT40zH4&feature=related

แมวส่ายหัวดุ๊กดิ๊ก



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=jsfFXe5n3S0

สัตว์เศรษฐกิจ นกกระจอกเทศ


สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก
 สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน
     ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้
ไก่พื้นเมือง กรมปศุสัตว์
     เป็นไก่ที่ทำการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี มีวัตถุประสงค์ให้ไก่มีการพัฒนาคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าเดิมหลายประการ เช่น การเจริญเติบโต มีการพัฒนา การเจริญเติบโตสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งเดิมนั้นเติบโตวันละ 9 กรัม เมื่อได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น สามารถเพิ่มการเติบโตได้วันละ 15 - 21 กรัม ด้วยการให้ผลผลิตไข่ ก็สามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิม 60 ฟองต่อ ปี เป็น 160 - 180 ฟองต่อปี และยังปล่อยเลี้ยงในชนบทได้ง่าย หากินง่าย ฟักไข่ได้เอง เช่นเดียวกับไก่พื้นเมือง ทั่วไป ไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์ มีหลายประเภท ดังนี้
     1. ไก่ 2 สายพันธุ์ เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่พื้นเมือง กับไก่ที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ เช่น พื้นเมือง- โร๊ด พื้นเมือง-บาร์
     2. ไก่ 3 สายพันธุ์ พันธุ์เซี่ยงไฮ้-โร๊ด-บาร์ (SRB) พันธุ์พื้นเมือง - โร๊ด - บาร์ (NRB)
     3. ไก่สายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ พันธุ์ NSRB และพันธุ์ NASRB เป็นการนำเอาพ่อพันธุ์พื้นเมืองผสมกับแม่ 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ จะได้ลูกผสมที่เติบโตเร็ว มีคุณภาพเนื้อดี รสชาดใกล้เคียงกับไก่พื้นเมืองที่เป็นที่ต้องการของตลาด
นกกระจอกเทศ
     เป็นนกที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ดังนั้นจึงมีการนำนกกระจอกเทศไปเลี้ยงกันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย หรือ มาเลเซีย ทั้งนี้ เพราะนกกระจอกเทศมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังให้ผลผลิตมากมาย เช่น หนัง เนื้อ ขน ไข่ ตลอดจนน้ำมัน เป็นต้น
     นกกระจอกเทศ แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ
       1. สายพันธุ์ คอแดง
       2. สายพันธุ์ คอน้ำเงิน
       3. สายพันธุ์ คอดำ
     3 สายพันธุ์ จะแตกต่างกันในเรื่องของการให้ผลผลิตและขนาดเท่านั้น ส่วนลักษณะที่ปรากฎภายนอกจะเหมือนกัน
ลักษณะจำเพาะ  เพศผู้ - มีขนสีดำ ยกเว้น ปลายปีกและขนหางจะมีสีขาว สูง 2.65 - 270 ซม. หนัก 100 - 165 กก. เพศเมีย - ขนสีน้ำตาลเทา สูง 175 - 230 ซม. หนัก 90 - 155 กก.
การให้ผลตอบแทน
     นกกระจอกเทศ เมื่อมีอายุประมาณ 10 - 14 เดือน ถือว่าเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 90 - 110 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่เหมาะสมที่จะส่งไปแปรรูป และจะให้ผลผลิตดังนี้
หนัง
     นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะแตกต่างกันถึง 3 แบบ คือ หนังส่วนแข้ง หนังต้นขา และหนังบริเวณหลัง โดยแต่ละตัวจะให้หนังที่มี คุณภาพดีขนาด 1.1 - 1.5 ตารางเมตร ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น รองเท้าบู้ต กระเป๋า เสื้อแจ็คเก็ต เข็มขัด เป็นต้น 
  เนื้อ
     เนื้อนกกระจอกเทศจะมีข้อดีที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และทุกชาติศาสนา สามารถบริโภคได้
ขน
     มีลักษณะอ่อนนุ่ม และมีไขมัน ใช้เป็นเครื่องประดับเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ทำไม้ ปัดฝุ่น สำหรับเครื่องอิเลคโทรนิค เป็นต้น ซึ่งแต่ละปี จะให้ผลผลิตขนประมาณ 1.0 -1.2 กก.
น้ำมัน
     เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำเครื่องสำอางค์ เพราะดูดซึมเข้าผิวหนัง ได้เร็วและไม่เหนียวเหนอะหนะ ช่วยในการบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี
ไข่และเปลือกไข่
     ไข่นกกระจอกเทศ สามารถนำมาบริโภคได้ และมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับไข่เป็ด ไข่ไก่ นอกจากนี้ เปลือกไข่ยังไปตกแต่งลวดลาย แกะสลัก ทำโคมไฟ เป็นเครื่องประดับหรือของที่ระลึกได้เป็นอย่างดี
  คุณลักษณะ  ผลตอบแทน
   ระยะเวลาฟักไข่ (วัน)                       42
   การให้ลูก (ตัว/ปี/แม่)                        20
   อัตราการแลกเนื้อ (FCR)                   2-3:1
   อายุส่งโรงงานแปรรูป (เดือน)          10-14
   ผลผลิตหนัง (ชิ้น/แม่)                       20
   ผลผลิตเนื้อ (กก./แม่)                      750-850
   ผลผลิตขน(กก./แม่)                           20-25
   ผลผลิตน้ำมัน (กก./แม่)                     40-60
   พื้นที่เลี้ยงดู (ตัว/ไร่)                             3
   ระยะเวลาให้ผลผลิต (ปี)                     25-30
ที่มา http://www.tkc.go.th/wiki/show/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เลี้ยงชะมดเช็ดเชิงพาณิชย์ สัตว์เศรษฐกิจแห่งอนาคต


เลี้ยงชะมดเช็ดเชิงพาณิชย์ สัตว์เศรษฐกิจแห่งอนาคต
ปัจจุบันชะมดเช็ดกำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เช็ดชะมด หรือไขมันจากชะมดเช็ด เป็นที่ต้องการของตลาดในและต่างประเทศ เพื่อนำไปผลิตยาไทยแผนโบราณ-น้ำอบไทย-น้ำมันระเหยที่ใช้สำหรับสปา และสุคนธบำบัด ทำให้ราคาสูง กิโลกรัมละ 2-4 แสนบาท นอกจากนี้ยังเลี้ยงให้ผลกาแฟ เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ทำให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) มีโครงการส่งเสริมให้เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เพราะสร้างรายได้เป็นอย่างดี

ดร.ชวาล ทัฬหิกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรชีวภาพ สพภ.บอกว่า ปัจจุบันกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้เลี้ยงชะมดเช็ด หรือชะมดเชียงได้ เนื่องจากเช็ดชะมดหรือ ไขมัน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สพภ.จึงมีโครงการส่งเสริมพัฒนาสัตว์ป่าที่เพาะพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของธุรกิจการเลี้ยงชะมดจะสร้างรายได้ให้แก่คนเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันไขชะมดเช็ดราคากิโลกรัมละ 2-4 แสนบาท
"ราคาไขชะมดเช็ด จะสูงกว่าราคาสัตว์ชนิดอื่นๆ ลิบลับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการส่งเสริมการเลี้ยงอย่างเป็นรูปธรรม สพภ.กำลังประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานที่ดูแลประชากรชะมดเช็ด เพราะเห็นว่าเมื่อกฎหมายผ่อนปรนให้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้แล้ว แต่ที่ผ่านมาแม้จะมีการเพาะพันธุ์บ้าง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดมีความต้องการไขชะมดสูงเพื่อนำไปผลิตยาไทยแผนโบราณ น้ำอบไทย น้ำมันระเหยที่ใช้สำหรับสปา และสุคนธบำบัด นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงชะมดเช็ดให้กินผลกาแฟสุกเพื่อผลิตกาแฟขี้ชะมดด้วย" ดร.ชวาลกล่าว

ด้าน พจนีย์ น้อยปิ่น เจ้าของ "ฟาร์มชะมดเช็ดป้าน้อย" อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี บอกว่า เลี้ยงมากว่า 50 ปีตั้งแต่รุ่นตายาย โดยครั้งแรกซื้อชะมดเช็ด จากชาวกะเหรี่ยงตัวละ 2,000-3,000 บาท ปัจจบันมีกว่า 150 ตัว ผลิตพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว ขายในราคาคู่ละ 1 หมื่นบาท แม่พันธุ์ 1 ตัวตั้งท้อง 2 เดือน และออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว สาเหตุที่เลือกอาชีพเลี้ยงชะมดเช็ดนั้น เพราะคุณตาเล่าให้ฟังว่าไขชะมด ตลาดต้องการสูงมาก และสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี

สำหรับ การเลี้ยงจะเลี้ยงในกรงกว้าง 0.90 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 0.50 ยกสูงจากพื้น 70-100 ซม. ทำด้วยไม้ระแนง ปูด้วยฟากไม้ไผ่และมีหลักทำด้วยไม้สำหรับเช็ดไข ส่วนอาหารให้ช่วงเย็น จำพวกปลากระพง โครงไก่ นึ่งให้สุกเพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น เฉลี่ยค่าอาหารต่อตัวอยู่ระหว่าง 2-5 บาท/วัน ชะมดเช็ด 1 ตัวให้ไขชะมดวันละ 1 กรัม ในแต่ละปีจะได้ไขชะมด 10 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 2.2 แสนบาท

ขณะที่ สุรเชษฐ์ ยุทธสุนทร เจ้าของ ”ไร่คุณหญิง” อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งขายกาแฟขี้ชะมดเช็ด บอกว่า เป็นเมล็ดกาแฟที่ชะมดเช็ด กินเข้าไป ถ่ายออกมา แล้วนำไปบดเป็นกาแฟสำหรับชงดื่ม สรรพคุณ คือเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะบรรเทาความเคล็ดขัดยอกที่ต้นคอ ปวดเมื่อยได้

"การเลี้ยงชะมดเพื่อให้กินกาแฟก็จะต้องขังชะมดไว้กับต้นกาแฟ ชะมดก็จะเลือกกินกาแฟที่สุกพอดี กาแฟจะหมักอยู่ในกระเพาะและลำไส้ชะมด 2-3 วัน จากนั้นกาแฟก็จะดูดเอนไซม์ภายในลำไส้ของชะมดออกมาทำให้กาแฟและมีสรรพคุณทางสมุนไพร ชะมด 1 วันถ่ายออกมา 1 ก้อนเท่านั้น แต่หลังจากที่ต้นกาแฟหยุดให้ผล คนเลี้ยงสามารถให้กินกล้วยแทนได้" สุรเชษฐ์กล่าว

นับเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ หากต้องการชมการเลี้ยงชะมดถึงฟาร์มที่เพชรบุรี สอบถามได้ที่สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย โทร.0-2940-5426-7

http://www.komchadluek.net/detail/20110223/8html

ณ บัด now เวอร์ชั่น chipmunk



http://www.youtube.com/watch?v=dzjQP7eGZZY&feature=related

ชุมชนน่าอยู่สร้างได้เพราะใส่ใจ

โดย...โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

             ในมุมมองของผม องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการสร้างชุมชนน่าอยู่ ซึ่งมีฝ่ายบริหารชุมชนทำหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์ประกอบดังกล่าว ได้แก่ “การบริหารทรัพย์ส่วนกลาง (Facility Management) อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารงบการเงิน (Budgeting) อย่างโปร่งใส การเข้มกับเรื่องของ “ความปลอดภัย” (Security & Safety) และการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management) ของการอยู่อาศัย
              อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงองค์ประกอบพื้นฐานในการบริหารจัดการชุมชน แต่องค์ประกอบที่ช่วยขยายความการเป็นชุมชนน่าอยู่ให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ เรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิต (Life Quality)ที่แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
ธรรมชาติของการอยู่คอนโดมิเนียมก็คือการมีเพื่อนบ้านที่อยู่ห้องข้างๆ ห้องชั้นบน และชั้นล่าง แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน มีความต้องการและวิถีชีวิตที่ต่างกัน ถ้าไม่มีการเอาใส่ใจระหว่างผู้อยู่อาศัยด้วยกัน หรือฝ่ายบริหารชุมชนไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้อยู่อาศัย การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมก็จะไม่มีความสุข
             ผมมีตัวอย่างของประสบการณ์ความสุขที่เกิดจากความใส่ใจกัน จากคำบอกเล่าของผู้อยู่อาศัยท่านหนึ่งผ่านทาง e-mail ว่า “ในช่วงวันหยุดนี้ ดิฉันไปที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง กำลังวนหาที่จอดรถอยู่หลายรอบ สักพักก็มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำชั้นจอดรถนั้นตรงรี่เข้ามา แล้วพยายามส่งสัญญาณว่ามีที่ว่าง
             ดูพนักงานเขาตั้งใจมากจนนึกชมในใจว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยที่นี่อบรมมาดีเชียว ดูแล ช่วยหาที่จอดใส่ใจแบบมากกว่าที่เคยเห็นในห้างสรรพสินค้าอื่น
             จนจอดรถเสร็จ เขาก็ยังไม่เดินไป... เขาจะรอพูดอะไรกับเรารึเปล่า คำตอบคือ..เขาบอกว่าเขาเห็นสติกเกอร์ที่หน้ารถเราว่าอยู่โครงการลุมพินี ที่บริษัทเคยส่งเขาไปประจำอยู่ที่นั่นเลยรู้สึกผูกพันเห็นสติกเกอร์แล้วอยากให้บริการ...
             สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นจากการฝึกฝน เมื่อปฏิบัติบ่อยครั้งก็กลายเป็นความรู้สึกผูกพันและรักใส่ใจที่จะทำ แม้ในสิ่งที่เกินหน้าที่ความรับผิดชอบก็ตาม



ที่มา http://www.softbizplus.com/real-estate-property-news/428-create-livable-communities-because-they-care-about

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

กติกาการชนไก่

กติกาการชนไก่ 

 

ยุคโบราณ
แรกเริ่มเดิมที่นั้น กฎกติกาในการชนไก่ไม่มีอะไรมากนัก ดังนี้ เอาไก่สองตัวมาตีกัน ตีกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีฝ่ายแพ้ชนะ ไม่มีการพักยกให้น้ำไก่ ไม่มีการพันเดือยดังเช่นทุกวันนี้ แพ้เมื่อไหร่เลิกชนกันทันที
ต่อมาการชนไก่เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนและเป็นที่นิยมกันมากขึ้นๆ กฎกติกาต่างๆ มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ เริ่มมีการจับเวลา โดยนำเอากะลามะพร้าวหรือขันที่เจาะรูมาวางลอยในภาชนะใส่น้ำ เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ ครุถัง กะละมัง ตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น เมื่อกะลามะพร้าวหรือขันจมน้ำให้ถือว่าหมดเวลาชนกัน กะละมะพร้าวหรือขันน้ำจมน้ำเมื่อไหร่เรียกว่า “หมดหนึ่งอัน” มีการพักยกให้ไก่ได้พักเหนื่อย เริ่มรู้จักการให้น้ำไก่ ช่วงพักยกก็ใช้กะลามะพร้าวหรือขันอันเดิมลอยในน้ำเช่นเดียวกัน เมื่อกะลามะพร้าวหรือขันจมน้ำอีกครั้งหนึ่งก็ให้ถือว่าหมดเวลาพัก ตีหนึ่งอันและพักหนึ่งอันสลับกันไปเรื่อยๆ ส่วนจะชนกันกี่อันนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน

 ยุคปัจจุบัน
กติกาในการชนไก่ในสนามไก่ชนแต่ละแห่งจะคล้ายกัน แต่อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด การชนไก่จะชนกันเป็นยกคล้ายกับนักมวย สำหรับในวงการไก่ชนแล้วจะนิยมเรียกว่า “อัน” การชนไก่แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
 การแข่งขันกีฬาชนไก่ แบบอาชีพ จะทำการแข่งขันเฉพาะวันเสาร์ และวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ 8.00 น.เป็นต้นไปจะหยุดแข่งขันในวันที่ตรงกับวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยในการแข่งขันจะมีกติกาการแข่งขันทั่ว ๆ ไป ดังนี้
 เปรียบไก่โดยการจับตัว ประเมินน้ำหนัก เทียบความสูงโดยเจ้าของไก่เป็นผู้ตัดสินใจ
 ไก่ที่เข้าแข่งขันใช้พลาสเตอร์เทปพันปิดเดือย
 การแข่งขันไม่เกิน 12 อัน(12 ยก) ใช้เวลาแข่งขันยกละ 20 นาที พัก 20 นาที
 ระบบการตัดสินแพ้ชนะ ถ้าไก่วิ่งหนี หันหลังหรือไม่สู้ครบ 3 ครั้ง ถือว่าแพ้ นอนหรือหมอบ
ให้จับลุกขึ้นมาสู้ ถ้าไม่ยอมสู้ถือว่าแพ้
 การแข่งขันกีฬาชนไก่ แบบสมัครเล่น(ฺBoxing) การแข่งขันการชนไก่แบบสมัครเล่น จะทำการแข่งขันเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ 8.00 น.เป็นต้นไปจะหยุดแข่งขันในวันที่ตรงกับวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยในการแข่งขันจะมีกติกาการแข่งขันทั่ว ๆ ไป ดังนี้
 ลงทะเบียนทำประวัติสายพันธุ์ และชั่งน้ำหนัก
 เปรียบไก่โดยใช้น้ำหนัก และความสูงเป็นเกณฑ์
 ไก่ที่แข่งขันต้องสวมเดือยด้วยนวมมาตรฐานของสนาม
 เข้าปาก เสริมปีกไก่ได้ก่อนการแข่งขัน
 แข่งขัน 5 ยก ยกละ 10 นาที พัก 2 นาที
 การให้น้ำ ให้ในถาดมุมของตนภายในสนาม โดยใช้อุปกรณ์ที่ทางสนามจัดให้
 ไม่มีการไขหัว ถ่างตา และเย็บแผล ระหว่างพักยก
 ห้ามใช้น้ำมันหม่อง สารเคมีใดๆ และยาโด๊ป เมื่อตรวจพบถูกปรับแพ้
 วัสดุที่ใช้ในการแข่งขัน เช่น ข้าวสุก ขนไก่แยงคอ น้ำ ใช้ของสนาม

 ระบบการตัดสินแพ้ชนะ
1. วิ่งหนี หันหลังไม่สู้ 3 ครั้ง นอนหรือหมอบให้ลุกขึ้นสู้ ไม่สู้ถือว่าแพ้เทคนิคัล
น็อกเอาท์ (Tko’s)
2. ปากหลุด ปากถอดหรือหักปล้องอ้อย ตาปิดมีเลือดวิ่งเข้าตา และบาดแผลใน
ดุลยพินิจของนายสนามเห็นว่าไม่ควรแข่งขันต่อไปจะยุติการแข่งขัน ถือว่าแพ้ อาร์เอสซี (RSC)
เจ้าของไก่ต้องการยอมแพ้ได้ เมื่อเห็นว่าไก่ของตนไม่อยู่ในสภาพที่จะแข่งขันต่อไป
โดยการโยนผ้าขาว
3. การให้คะแนน ใชัระบบคอมพิวเตอร์ โดยกรรมการ 3 ท่าน กดให้คะแนนตั้งแต่
ยกที่ 4 ตีถูกคู่ต่อสู้ชัดเจน 1 คะแนน (กรรมการ 2 ใน 3 คนกดจึงได้คะแนน) ตีถูกคู่ต่อสู้
ออกอาการชัดเจน 2 คะแนน (กรรมการ 2 ใน 3 คนกดจึงได้คะแนน)


http://202.29.80.68/kaichon/index.php?m=view&cate=24

สายพันธุ์แมวยอดนิยม



แมวเปอร์เซีย
               ถิ่นกำเนิดเริ่มแรกคือประเทศอังกฤษ เรียกว่า Longhair ส่วนอเมริกาเรียกว่า Persian แมวเปอร์เซียจะเป็นแมวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีโครงร่างหนา กระดูกจะดูใหญ่แข็งแรง หัวกลม ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากอย่างชัดเจน มองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา จะต่างกับแมวเอเชียอย่างแมวไทยซึ่งจมูกกับหน้าผากเมื่อมองจากด้านข้างค่อนข้างจะเป็นเส้นตรง
              แมวเปอร์เซียมีหน้าตาหลากหลายแบบ อาจจะดูยากหน่อยระหว่างแมวขนยาวสายพันธุ์อื่นกับ โครงร่างของแมวเปอร์เซียลำตัวจะต้องสั้น ขาสั้นเตี้ยแต่หนาดูแข็งแรง หัวกลมหน้ากลม หูเล็กปลายหูมน หูอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันและไม่สูงเกินไป ตากลมโต หางสั้นแต่ก็ต้องเหมาะสมกับลำตัว หางตรงไม่คดงอบิดเบี้ยว ขนยาวหนาฟูท่วงท่าการเดินดูดีมีสง่า
                 แมวเปอร์เซียที่ตรงตามมาตรฐานของ CFA จะมีลักษณะโครงสร้างของใบหน้าและกระโหลกที่กลม มีจุด Brake หรือที่เรียกว่า Stop อยู่กึ่งกลางใบหน้า และตรงกับระดับกึ่งกลางดวงตาพอดี ใบหูเล็กตั้งอยู่ห่างกัน ฐานหูด้านในจะยู่ประมาณแนวเดียวกับหางตาพอดี ดวงตากลมโต ห่างกันพอสมควร ถ้าจะให้ประมาณความห่างระหว่างดวงตา จะประมาณ1.5 ของความกว้างดวงตา ตาไม่เหล่ไม่เข จมูกสั้น ดูโดยรวมแล้วต้องหน้าหวาน ไม่ใช่น่ากลัว รูปร่างของแมวเปอร์เซียก็คือตัวสั้นกลม ดูแล้วตัวกลมๆ ฟูๆ หางไม่สั้นไม่ยาว วัดเมื่อทบหางกลับมาได้ที่หัวไหล่พอดี



แมวบาร์ลิเนส
                ลักษณะมาตราฐานของแมวพันธุ์นี้ถูกกำหนดโดย Cat Fanciers’ Association โดยมีลักษณะดังนี้ หุ่นเพรียวยาว รวมไปถึง หัว ขา และหาง ขนยาวเรียวแหลมอ่อนนิ่ม และมีกล้ามเนื้อแข็งแรงซึ่งมีลักษณะคล้ายบรรพบุรุษของมันคือ แมวสยามนั้นเอง แต่มันก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งในเรื่องของความยาวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และลักษณะที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีขนหางที่ยาวปุยคล้ายขนนก
เพราะ แมวบาร์ลิเนสมีขนชั้นเดียว ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ขนยาวอื่น ๆ ทั่วไปซึ่งจะมีขนสองชั้นขนของแมวพันธุ์นี้จะวางตัวราบเรียบชี้ไปด้านหลัง และไม่ทำให้เสียรูปทรงของแมวพันธุ์นี้ลักษณะของสีจุดได้รับการรับรองโดย CFA ซึ่งสีจุดนั้นเป็นสีจุดของแมวพันธุ์สยามราคาของแมวบาร์ลิเนสนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของแมวตัวนั้น ซึ่งสามารถทำให้ราคาสูงได้โดย ให้เข้าประกวดในงานต่าง ๆ เช่น Grand Champion, National หรือ Regional Championตามปกติแล้วนักเพาะพันธุ์จะขายลูกแมว อายุประมาณ 12-16 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอายุที่เหมาะสม หลังจาก 12 สัปดาห์ ลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน และได้รับการส่งเสริมด้านร่างกาย สังคมและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และควรเลี้ยงในร่ม และมีพื้นที่ให้แมวได้ข่วน ซึ่งเป็นนิสัยธรรมชาติของสัตว์ประเภทนี้
ข้อบกพร่องของแมวพันธุ์นี้ก็คือ ขาหลังอ่อนแอ มีการหายใจทางปากเนื่องจากสิ่งกีดขวางในช่องจมูก และบางตัวมีลักษณะที่ฟันบนและฟันล่างไม่สบกัน มีผลทำให้มีลักษณะคางยาวหรือคางสั้นกว่าปกติ ความหงิกงอของหาง นิ้วเกิน และ มีขนมากกว่าหนึ่งชั้น

แมวหิมาลายัน
                     เป็นแมวลายหลากสี มีต้นตระกูลมาจากทางเปอร์เซีย ต้นตระกูลมีลักษณะผิวแบบ แมวไทยในอเมริกาเหนือ เป็นแมวที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่เทือกเขาหิมาลัย ลำตัวสั้นป้อมและเตี้ย แข็งแรง ขาค่อนข้างเล็ก หูสั้น จมูกสั้น แก้มนูนเต็ม ลูกนัยน์ตากลมม่านในตาเปิด ลูกนัยน์ตาสี น้ำเงินสุกใส ขนยาว บริเวณรอบเอวมีขน่อนนุ่ม รอบๆคอและแก้มมีขนครุยห้อย บริเวณหาง ขนขึ้นหนาทึบ ที่หูจะมีขนยาวเป็นกระจุกห้อยย้อยลงมาน่ารัก




 แมวบริติสช็อตแฮร์
                ต้นกำเนิดดั้งเดิมเชื่อกันว่าเป็นแมวท้องถิ่นสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ มีตำนานว่าบรรพบุรุษของแมวพันธุ์นี้มาจากแมวที่ชาวโรมันเอามาเลี้ยงเมื่อ 2 พันปีมาแล้ว แมวอังกฤษขนสั้น สายพันธุ์นี้มีความโดดเด่นทางกายภาพและความสามารถทางการล่าเหยื่อ รวมทั้งความสุขุม อดทน และซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ พันธุ์British Shorthair หาได้ยากในอเมริกา ประมาณ คศ. 1980 เป็นที่ยอมรับมากจากการประกวดโดย CFA จึงเพิ่มการขยายพันธุ์ในอเมริกา โดยสั่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
รูปร่างขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สมส่วนและแข็งแรง ลำตัวลึก แผงอกแน่น ขาสั้นถึงปานกลาง อุ้งเท้ากลม หัวกลมโต หูปานกลาง คางกระชับ ตากลมโต จมูกสั้นกว้าง แต่ไม่สั้นแบบเปอร์เซีย ขนสั้นแน่น หางยาวปานกลาง โคนหางหนา ปลายหางกลมมน ตัวเมียมีขนาดเล็กว่าตัวผู้ซึ่งมีขากรรไกรล่างใหญ่กว่า สายพันธุ์นี้โตเต็มที่ช้า สีมีหลายสี แต่สีที่นิยมคือสีเทาเข้ม(Blue)



แมวอะบิสซเนียน
                    ลักษณะนิสัยที่สำคัญของ Abyssinian นี้คงไม่เหมาะแน่สำหรับบุคคลที่ต้องการจะได้แมวเพื่อมาเลี้ยงเป็นแมวสวยงาม หรือเลี้ยงไว้เพียงเพื่อมาไว้นั่งอยู่แต่บนตักเพียงอย่างเดียว เพราะลักษณะนิสัยที่สำคัญของแมวพันธุ์นี้ คือ ความกล้าหาญ, ความทะนงองอาจ, ความอยากรู้อยากเห็น ไม่หยุดนิ่งอยู่เฉย ๆ เป็นแมวที่ชอบการผจญภัย ชอบโดดขึ้นไปอยู่บนที่สูง ๆ ยกตัวอย่างเช่น บนตู้เย็น หรือบนชั้นวางหนังสือ ชอบไปมีปฏิสัมพันธ์เที่ยวเล่นกับแมวตัวอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งคำว่า Abys นี้ก็เป็นคำที่มีความหมายอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือ ความกระตือรือร้น หรือถ้าบุคคลใดต้องการแมวที่สามารถที่จะสร้างเสียงหัวเราะให้ได้ Abyssinian ก็จัดได้ว่าเป็นพันธุ์แมวพันธุ์หนึ่งที่ไม่เป็นรองพันธุ์อื่น ๆ เช่นกัน เพราะท่าทางที่น่ารักชอบผู้คน และฉลาดหลักแหลมของมัน เป็นสิ่งที่ทำให้คนรักแมวต้องชื่นชอบมันอย่างแน่นอน
สำหรับลักษณะนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Abyssinian ก็คือ ความซื่อสัตย์, รักเจ้าของ, เชื่อฟังคำพูดของเจ้าของ และมีความน่ารักน่าเอ็นดู ทำให้แต่ละวันในชีวิต เป็นวันที่มีแต่ความสุข เพราะเจ้า Abyssinian นี้จะเข้าไปนั่งอยู่ในจิตใจคุณ คอยแบ่งปันความทุกข์เมื่อยามที่คุณทุกข์ หรือร่วมมีความสุขเมื่อยามที่คุณสุข เป็นเพื่อนร่วมทานอาหารเย็นกับคุณ และคอยติดตามคุณไปทุกหนทุกแห่ง เป็นเพื่อนที่คอยอยู่ใกล้คุณอยู่เสมอ



แมวบอมเบย์
                เกิดจากนำแมวพม่าสีน้ำตาลเข้มผสมพันธุ์กับแมวอเมริกันขนสั้นสีดำ ผลก็คือ ได้ลูกแมวสีดำขลับลักษณะสายพันธุ์
สี : ดำขลับ
รูปร่างและขนาด : เป็นแมวขนาดกลางมีกล้ามเนื้อชัดเจน หัวโตหน้าผากกลมกว้าง หูกลมและเอียงไปทางข้างหน้า มีจมูกสั้นสีดำคางเห็นชัดเจน ตากลมโตสีตาเป็นสีทอง ขายาวปานกลางเท้าเล็กรูปไข่
ลักษณะนิสัย : อ่อนโยนไม่ก้าวร้าวสามารถปรับตัวเข้ากับแมวตัวอื่นๆได้ดีและชอบอยู่กับมนุษย์ไม่ปลีกตัวไปไกล


แมววิเชียรมาศ หรือแมวสยาม
                 แมววิเชียรมาศเป็นแมวที่ชาวต่างประเทศที่รู้จักกันในนามแมวสยาม (Siamese) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นที่รู้จักกันในแถบสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ลักษณะที่จำเพาะของแมววิเชียรมาศ คือ สีน้ำตาล เป็นแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มอยู่ 9 จุดบนตัวได้แก่ที่ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหูทั้งสอง ปลายหาง บนจมูก และที่อวัยวะเพศ เมื่อตอนยังเล็กจุดจะไม่ใหญ่มาก ลำตัวเป็นสีครีม แต่จุดจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุจนมีสีน้ำตาลเกือบทั้งหมด พันธุ์แท้จะต้องมีนัยน์ตาสีฟ้าใส ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด


แมวอเมริกัน ไวร์แฮร์
                  แมวพันธุ์ American Wirehair นี้เป็นลักษณะที่กลายพันธุ์ไปเองตามธรรมชาติ เป็นแมวที่มีขนาดตัวปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ขนไม่เพียงแต่จะยืดหยุ่นและหนาทึบเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะที่หยาบเหมือนเส้นลวด และแข็งอีกด้วย ซึ่งลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ทำให้แมวพันธุ์ American Wirehair แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นๆ ลักษณะนิสัย : แมวพันธุ์ American Wirehair เป็นแมวที่มีชีวิตชีวา มีความว่องไว ความปราดเปรียวและกระตือรือร้นในสิ่งรอบข้างตลอดเวลา




 แมวเมนคูน
                ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดที่สุดของเจ้า Maine Coon ก็คือรูปร่างใหญ่สมส่วน รู้สึกได้ถึงความแข็งแรงและสง่างาม ซึ่งหากเจ้าเหมียวโตเต็มที่แล้วจะมีน้ำหนักมากกว่า 12 กิโลกรัม ส่วนความยาวจากหัวจรดหางจะวัดได้มากกว่า 1 เมตร กล่าวได้ว่าขนาดพอๆกับสุนัขเลยทีเดียว เจ้า Maine Coon จึงจัดเป็นแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาแมวสายพันธุ์ทั้งหลาย และผลจากการพัฒนาสายพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้พวกเค้ามีความแข็งแรง สามารถทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีหัว มีขนาดใหญ่สมส่วน โหนกแก้มสูง รูปหน้ายาวปานกลาง ดูเป็นทรงเหลี่ยม  หู ใบหูตั้งชี้เรียวแหลม มีขนที่ปลายหูเหมือนแมวป่า ตา ดวงตากลมโต สีเขียว ทอง ทองแดง พบตาสีฟ้าบ้างในเหมียวที่มีขนสีขาว  ขน เป็นแมวประเภทขนกึ่งยาว (Semi Long Hair) มีขนปกคลุมหนาแต่ไม่พันกันยุ่ง ขนส่วนหัว คอ และไหล่จะไม่ยาวมาก จะไล่ความยาวจากส่วนหลัง ส่วนท้องไปจนถึงสีข้างและหาง ตัวผู้จะมีขนคอที่หนากว่าตัวเมีย ขา มีขาที่แข็งแรง ความยาวได้สัดส่วนกับลำตัว อุ้งเท้าใหญ่ เท้าหน้าจะมีข้างละ 5 นิ้ว ส่วนเท้าหลังมีข้างละ 4 นิ้ว
การให้อาหารตามปกติอาจยังไม่พอ ควรให้อาหารเสริมแก่เจ้าตัวโตด้วยเนื้อสัตว์โปรตีนสูงไขมันต่ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเจ้าเหมียวให้ล่ำบึ้กMaine Coon เป็นแมวที่ไม่ค่อยมีปากเสียงมากนัก คุณสามารถหาเห็บ หมัด เช็ดหู สางขน โดยที่เหมียวไม่ปริปากบ่นรำคาญสักแอะ แถมยังชอบอีกด้วยแมวกึ่งขนยาวแบบ Maine Coon จะไม่มีปัญหาขนพันกันยุ่งแบบแมวขนยาวอย่างเปอร์เซีย การดูแลจึงทำได้ง่ายขึ้น


http://202.143.142.148/~615439/?page_id=68

สุนัขเพื่อนรัก 10 อันดับ พันธุ์ฮิตยอดนิยม

สุนัข สัตว์เลี้ยง (เศรษฐกิจ) เพื่อนรัก 10 อันดับ พันธุ์ฮิตยอดนิยม
จากสัตว์ใช้งานในอดีต บทบาทของ "สุนัข " ในปัจจุบันนี้ กลายเป็นสัตว์สี่เท้าที่มีคุณค่ามากกว่านั้น !!

              เพราะจุดประสงค์ของคนเลี้ยงสุนัขเวลานี้คือ "ความเป็นเพื่อน " ที่ต่างเชื่อว่าเจ้าตูบเหล่านี้มีมอบให้ด้วยใจจริง ไม่แสแสร้ง พร้อมมอบความจงรักภักดีต่อผู้มีพระคุณ ขณะที่บางคนเลี้ยงทิ้งๆ ขว้างๆ เบื่อก็เลิก แต่บางคนก็เลี้ยงดูจริงจัง จนกว่าจะตายกันไปข้างด้วยความนิยมที่เริ่มบูมสุดๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สุนัขเป็นต้นกำเนิดทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งวงการอาหารสุนัข โรงพยาบาลสัตว์ ศูนย์ฝึก และธุรกิจบริการสำหรับคนรักสุนัข อย่างเช่น บริการกรูมมิ่ง เสริมสวยตัดขน บริการนวดแผนโบราณ และสปาสุนัข ค่าบริการ ครั้งละ 300-500 บาท หรือแม้แต่บรรดาเครื่องประดับของแต่งกายสำหรับสุนัขที่มีราคาตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทไปจนถึงหลักหมื่น ต่างก็สร้างผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการมานักต่อนัก พร้อมทั้งช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เลี้ยงมีสีสันอย่างดี โดยเฉพาะ "การซื้อขายลูกสุนัข " เห็นได้ชัดว่าในเวลาหลายปีที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้เลี้ยงจำนวนไม่น้อยเริ่มแปรผันสู่ฟาร์มเพาะพันธุ์มืออาชีพ คาดว่ามีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นสินค้ามีชีวิตที่ตลาดต้องการในการซื้อขายสุนัข ตลาดค้าเจ้าตูบที่รู้จักกันดีก็คือ ตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งนับเป็นตลาดบนดินที่มีการซื้อขายสุนัขอย่างคึกคักมากที่สุด มีทั้งแบบมีประวัติ หรือมีใบเพ็ดดีกรี ที่แสดงต้นกำเนิดว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร และใครเป็นบรีดเดอร์ โดยมากเจ้าของฟาร์มจะมาตั้งร้านเอง ปล่อยให้สุนัขวิ่งเล่น นอนเล่นในกรง โชว์ความน่ารักแก่ผู้ผ่านไปมาอย่างดี บางร้านติดเครื่องปรับอากาศพร้อมจัดให้ร้านดูสะอาดน่าเชื่อถือ แต่บางร้านก็ไม่เป็นเช่นนั้น...มีหน้าร้านแค่เพียงตะกร้าใบพอเหมาะ ปล่อยให้สุนัขนั่งหงอยทำตาละห้อยอยู่ในนั้น โชว์ความโดดเดี่ยวน่าสงสาร ควรแก่การซื้อไปเลี้ยง พ่อค้าแม่ค้าต่างหอบตะกร้านั่งๆ เดินๆ ประกาศขายอยู่ตามซอกซอย สุนัขส่วนใหญ่ราคาไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท แต่ประเภทนี้ตกเย็นใกล้ตลาดปิด ค่าตัวจะเปลี่ยนไป เหลือแค่ตัวละ 200-300 บาท แม้แต่ตามตลาดซื้อขายตามนิตยสารต่างๆ มีให้เห็นมากมายไม่แพ้กัน ราคาสุนัข มีตั้งแต่หลักพันไปจนสูงถึงหลักหมื่นหลักแสน แล้วแต่สายพันธุ์และสายเลือด ยิ่งบรรพบุรุษหรือพ่อแม่สุนัขเคยครองแชมป์งานประกวด หรือสุนัขตัวนั้นมีลักษณะดีตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ครองรางวัล BIS หรือ Best In Show ระดับประเทศ หรือระดับโลก จนโด่งดังมีชื่อในวงการมากเท่าไหร่ ค่าตัวก็ยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปเท่านั้น
แต่บรรดาเจ้าตูบซึ่งมีมากกว่า 400 สายพันธุ์ทั่วโลก มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักในประเทศไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์จริงจังเพื่อให้ได้มาตรฐานทัดเทียมในระดับสากลโดยการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาในวงการ จากสถิติการจดทะเบียนสุนัขของสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย) The Kennel Club Of Thailand ซึ่งเป็นสมาคมผู้ให้การรับรองและจดทะเบียนสุนัขสมาคมเดียวในไทยที่ได้รับการรับรองระดับสากล รับรองโดย FCI (Federation Cynologique Internationale) พบว่าในปีที่ผ่านมามีสุนัขเข้าจดทะเบียนมากกว่า 20,000 ตัว



ล่าสุด ในปี 2547 มีสุนัขที่เข้ารับการจดทะเบียนกับสมาคมมากที่สุดใน 10 อันดับแรก ได้แก่



1. ปอมเมอเรเนี่ยน (Pomeranian)
สุนัขในกลุ่ม Toy Group
ปอมเมอเรเนี่ยน มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเยอรมนี เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่กำลังมาแรงอย่างต่อเนื่อง ขึ้นจากอันดับ 3 ในปีก่อน ด้วยความเล็กกะทัดรัด ขนฟูดูสวยงาม ใบหน้าแหลมเล็ก หลายคนหลงใหลในความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้
ลักษณะโดยทั่วไป มีความสูงโดยเฉลี่ยไม่เกินฟุต หรือประมาณ 20 เซนติเมตร หัวกลม ใบหน้ามีส่วนคล้ายสุนัขจิ้งจอก ปากเรียวแหลม ส่วนหัวและใบหน้ามีขนสั้น ตากลมโตและโปนเล็กน้อย หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งตรงและชิดกัน จมูกดำกลม ขนยาวฟูฟ่องทั่วลำตัว ขนสีดำ โกโก้ แดง ส้ม ขาว เหลือง บางตัวมีหลายสีปนกัน ขนทั้งตัวจะปกคลุมด้วยขนยาว ดก ฝ่าเท้านิ่ม ขนหางเป็นพวงโค้งเป็นวงกลมออกด้านข้าง
นอกจากความเล็กน่ารักแล้ว ความฉลาด ซื่อตรงและร่าเริง ปฏิภาณไหวพริบดี และขี้ประจบของปอมเมอเรเนี่ยน ยังเป็นจุดเด่นที่ทำให้เจ้าของต่างหลงใหล แต่ขณะเดียวกันความเล็กของสุนัขพันธุ์นี้จึงมักมีผลต่อการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างลำบาก ให้ลูกน้อย
ราคาจำหน่าย ระดับเลี้ยงเล่น 8,000-20,000 บาท ระดับประกวด 20,000 บาท ขึ้นไป





2. โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)
สุนัขในกลุ่ม Sporting Group
โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มามากกว่า 200 ปี ในอเมริกา เป็นสุนัขขนาดกลาง ตัวผู้สูงราว 23-24 นิ้ว หนักประมาณ 64-70 ปอนด์ ตัวเมีย สูง 21-23 นิ้ว น้ำหนัก 60-70 ปอนด์ มีสีหลายระดับสี มักจะเป็นสีออกครีมถึงสีเหลืองทอง จนถึงกึ่งเข้มแดงมะฮอกกานี เป็นสุนัขที่มีลักษณะหัวกว้าง และมีช่วงปากที่แข็งแรง ตาสีน้ำตาล หูค่อนข้างใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ปรกลงมาด้านข้าง มีขน 2 แบบ คือเรียบกับเป็นลอน ขาหน้าตรงแข็งแรง เท้ากลมคล้ายเท้าแมว ลักษณะหางชี้ตรงระดับเดียวกับหลัง ขนบริเวณหางจะยาวและหนา
นอกจากความสวยของขนที่มันวาว สวยงาม ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับความนิยมมาก โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ยังได้รับสมญานามว่า "หมาใจดี" บ่อยครั้งที่ภาพความผูกพันระหว่างเจ้าตูบโกลเด้น กับเด็กๆ มักมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง นั่นเพราะมีลักษณะนิสัยเป็นมิตร และสุภาพเป็นเลิศ ใจดี ซื่อสัตย์ มีความสามารถพิเศษในการจดจำ ง่ายต่อการฝึกฝน กระฉับกระเฉง และคาบสิ่งของได้ดี ในอดีตจึงมักใช้งานเพื่อหานกที่ถูกยิงตกนำมาให้เจ้าของ
โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เคยเป็นสุนัขยอดนิยม มีผู้เข้าขอจดทะเบียนมากเป็นอันดับ 1 ในปีก่อน แต่ปีล่าสุดนี้กลับถูกสุนัขพันธุ์เล็กแซงหน้าไปเสียแล้ว
ราคาจำหน่ายปัจจุบัน สุนัขระดับประกวด ประมาณ 15,000 บาท ขึ้นไป สุนัขเลี้ยงเล่น 6,000 - 15,000 บาท ระดับทั่วไป หรือสุนัขบ้าน เริ่มต้นที่ 3,000 บาท




3. ชิสุ (Shih Tsu)
สุนัขในกลุ่ม Toy Group
ชิสุ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ได้ชื่อว่า "สุนัขพันธุ์ราชสีห์" เพราะมีขนแผงคอเหมือนสิงโต อีกทั้งท่าทางการเดินหรือเคลื่อนไหวที่สง่างาม เดินตรงเชิดหน้าคอเหยียดและมีพวงหางขนยาวจะปกคลุมลงบนหลังชัดเจน ในอดีตจึงเป็นสุนัขที่เลี้ยงกันในราชสำนักของจักรพรรดิ นับเป็นสิ่งสูงค่าสำหรับสามัญชน เป็นสุนัขที่มีชนชั้น
ชิสุ เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักไม่เกิน 18 ปอนด์ สูงประมาณ 9 -10.5 นิ้ว รูปร่างเล็กแต่มีขนยาว เป็นขนสองชั้น หนา ยาวตรงหรือเป็นคลื่นเล็กน้อยปกคลุมลำตัว ขนบนหัวควรผูกรวบให้เรียบร้อย ป้องกันดวงตา ขนที่ก้นและเท้าต้องตัดให้เรียบร้อยเช่นกันเพื่อความสะอาด สุนัขพันธุ์นี้ต้องการการแปรงขนทุกวัน ผู้เลี้ยงต้องมีเวลาในการแปรงขนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
ลักษณะของชิสุที่ดี ควรมีลักษณะขนยาว ไม่ม้วนหยิก สีของขนเป็นสีผสมกันของสีดำ น้ำตาล ขาว มีสีขาวเป็นสีพื้น ส่วนกะโหลกกว้างอย่างสมดุล ตากลมโต นัยน์ตาสีดำ หรือจะเป็นสีน้ำตาลสีตับ แววตาร่าเริงแจ่มใสและเป็นมิตรต่อทุกสิ่ง ส่วนปากสั้นยาวไม่เกิน 1 นิ้ว และไม่มีรอยย่นของผิวหนังรอบปาก ปากไม่แหลม คางไม่ยื่น คอควรตั้งตรงยาวได้สัดส่วนกับลำตัว ลักษณะลำตัวของชิสุต้องมีความยาวของลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย อกใหญ่ ลึก หางจะต้องโค้งตั้งขึ้นมาบนหลัง ไม่ห้อยลง มีขนขึ้นเป็นพวงสวยงาม
แม้ ชิสุ จะเป็นสุนัขขนาดเล็ก แต่ก็ได้ชื่อว่า "เล็กแต่อึด" หากมีสุขภาพดีจะเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนสูง มีความแข็งแรงดุจสุนัขใช้งาน แต่ข้อดีของสุนัขพันธุ์ชิสุที่สร้างเสน่ห์อย่างดีก็คือ ฉลาด เป็นมิตร มีเสน่ห์ ไม่ดุร้าย ไม่เจ้าอารมณ์ เหมาะสมกับบ้านทุกชนิด
จากสิถิติที่ผ่านมา ชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุอาจเพราะปัจจุบันผู้นิยมเลี้ยงสุนัขมีที่อยู่อาศัยที่เล็กลง ส่งผลให้สุนัขพันธุ์เล็กเพิ่มจำนวนมากขึ้นไปด้วย และด้วยการขยายพันธุ์ที่ง่ายกว่า ชิสุจึงมาแรงแซงสุนัขพันธุ์เล็กพันธุ์อื่น รวมถึงลักษณะขนและหน้าตาสร้างความเพลิดเพลินในการเลี้ยงดูของเจ้าของที่ชอบแต่งตัวให้สุนัข แต่คงไม่เหมาะนักสำหรับเจ้าของที่ไม่มีเวลา
ราคาจำหน่าย ระดับประกวด 15,000 บาท ขึ้นไป ระดับเลี้ยงเล่น 3,500-15,000 บาท ทั่วไป เริ่มต้นที่ 2,500 บาท




4. ปั๊ก (Pug)
จัดอยู่ในกลุ่ม Toy Group
สุนัขพันธุ์ตัวเล็กหน้าย่น มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน มีประวัติยาวนานกว่า 2,500 ปี เป็นสุนัขที่นิยมมากของชาวพุทธในสมัยโบราณ ด้วยมีความเชื่อที่ว่า ปั๊ก เป็นสัตว์เลี้ยงมงคล เพราะลักษณะรอยย่นของใบหน้ามีความหมายตามความเชื่อที่ดี เป็นสิริมงคลต่อผู้เลี้ยง ปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก
ปั๊ก เป็นสุนัขรักเด็ก ร่าเริง กระตือรือร้น มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม สูงไม่เกินฟุต มีลักษณะใบหน้าสีดำเหมือนใส่หน้ากาก ขนสั้นละเอียดนุ่ม ลำตัวมีกล้ามเนื้อ ลักษณะทั่วไป กลม ใหญ่ จมูกสั้น ปากสั้น กระหม่อมไม่โค้ง มีรอยย่นที่หัว ปาก แก้มนิ่ม เท้ากลม ฝ่าเท้าแผ่ มีกล้ามเนื้อที่ขาทั้ง 4 ชัดเจน หางม้วนเป็นเกลียวอยู่บนแผ่นหลังตรงสะโพก
แต่สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องระวังไม่ให้อ้วนจนเกินไป อีกทั้งต้องดูแลเรื่องอากาศเนื่องจากเป็นสุนัขที่มีโพรงจมูกสั้น อาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ
ราคาจำหน่ายทั่วไปเริ่มต้นที่ 4,500 บาท ระดับประกวด 12,000 บาท ขึ้นไป



5.ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky)
จัดอยู่ในกลุ่ม Working Group
สุนัขลากเลื่อนที่มีท่วงท่าสง่างาม มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียตอนเหนือ มีความอดทนแข็งแรงดีเลิศ อดีตเป็นสุนัขใช้งานลากเลื่อนในเมืองหนาว นับเป็นสัตว์ที่ปรับตัวเก่ง ใจดี ไม่ก้าวร้าว
ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นสุนัขที่มีขนสองชั้น สีพื้นเป็นสีน้ำตาล ดำ เทา แต่ใบหน้าต้องมีสีขาวเท่านั้น ขอบตาเป็นสีดำ ขนสั้นตรงฟู แน่น หัวมีขนาดปานกลาง ดูสมส่วนกับขนาดลำตัว ใบหูตั้งตรง รูปตาเรียว หางฟูพอง มักจะโค้งเป็นพวงขึ้น บนหลังคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก ต้องการออกกำลังกายเป็นหลัก
จุดเด่นของสุนัขพันธุ์นี้คือ มีความอดทนสูงมาก ทำงานได้ดังหุ่นยนต์ รักเจ้านาย ครอบครัว หรือแม้แต่สุนัขด้วยกันเอง สามารถปรับตัวให้เข้าได้กับสภาพอากาศ วิ่งเร็วมาก สามารถเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี แต่มักทำตัวเป็นจ่าฝูง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เลี้ยงที่มีความกระฉับกระเฉง
ราคาจำหน่าย ระดับเลี้ยงเล่นทั่วไป ประมาณ 8,000-15,000 บาท ระดับประกวด 15,000 บาท ขึ้นไป





6. ร็อตต์ไวเลอร์ (Rottweller)
สุนัขในกลุ่ม Working Group
สุนัขพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเยอรมนี มีสีดำ มีแต้มด่างสีน้ำตาลเด่นชัด บริเวณขอบตา ปาก หน้าอก ขาท่อนล่าง และใต้ฐานของหาง ขนสั้น เป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อชัดเจน ดูสมส่วน ใบหูปรก นิยมตัดหางให้สั้น
สุนัขพันธุ์ร็อตต์ไวเลอร์ ที่ตกเป็นข่าวบ่อยครั้งด้วยความดุร้าย ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่มาจากสัญชาตญาณสัตว์ที่ต้องเอาตัวรอดตั้งแต่อดีต มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะสุนัขนักล่าและสุนัขเฝ้ายาม แต่ร็อตต์ไวเลอร์ในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนได้ชื่อว่าเป็นสุนัขที่มีความฉลาด ชอบการสัมผัสอย่างทะนุถนอม และสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว หากได้รับการฝึกฝนที่ดี จะเป็นสุนัขที่เชื่อฟังคำสั่ง ใจเย็น เป็นทั้งเพื่อนและยามที่ดีของครอบครัว
ด้วยลักษณะภายนอก ความแข็งแรง ความฉลาดของสุนัขพันธุ์นี้ เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงปศุสัตว์ เพราะมีพื้นที่ให้สุนัขออกกำลังกายได้มากกว่า แต่ก่อนเลือกซื้อ ผู้เลี้ยงควรตัดสินใจให้รอบคอบก่อนว่าเหมาะกับตนหรือไม่ ศึกษาสายพันธุ์ที่ดีเพราะอาจกลายเป็นสุนัขที่ก้าวร้าวเกินควบคุม
ราคาจำหน่ายลูกสุนัข ระดับประกวด 10,000 บาท ขึ้นไป ระดับเลี้ยงเล่น 4,000-10,000 บาท




7.บูลล์ด็อก (Bulldog)
สุนัขในกลุ่ม Non - Sporting Group
เห็นรูปร่างตันๆ กำยำ ดูแข็งแรงอย่างนี้ แต่เป็นที่โปรดปรานของผู้เลี้ยงสุนัขพอสมควร มีถิ่นกำเนิดจากประเทศกรีก ในอดีตเป็นสุนัขที่ใช้ต่อสู้กับวัวซึ่งถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในสมัยนั้น แต่ต่อมากีฬาสู้วัวถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จึงเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีเลือดนักสู้ลดลง จนกลายเป็นสุนัขที่กล้าหาญแต่วางใจได้ ไม่ดุร้ายเหมือนรูปร่าง
บูลล์ด็อก มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม สูงเต็มที่เพียงฟุตเศษ ลักษณะเด่นคือหัวกลม มีปากและบริเวณใบหน้าย่น ห้อย ขนเกรียนสั้นตรงและเรียบ นิ้วเท้าเวลายืนเหมือนยกขึ้น ขาหน้าตรง เวลายืนแล้วจะกางออกเล็กน้อย หางสั้น โดยมากจะเป็นสีเดียวทั้งตัว แต่มีสีดำที่ใบหน้า ปาก หน้าอก แต่ตอนนี้นิยมสีน้ำตาลลูกวัว ผู้เลี้ยงอาจต้องทำใจไว้ด้วยว่า ตัดสินใจเลี้ยงสุนัขที่นอนกรน และต้องระวังเรื่องอากาศร้อนเป็นพิเศษ
ราคาจำหน่ายระดับสุนัขเลี้ยงทั่วไป เริ่มต้นที่ 10,000 บาท หากเป็นบูลล์ด็อกระดับประกวด 15,000 บาท ขึ้นไป



8. ยอร์กไชร์เทอร์เรีย(Yorkshire Terrier)
สุนัขในกลุ่ม Toy Group
สุนัขตัวน้อย ขนยาว เส้นบาง มันวาวสลวย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ ถือว่าเป็นสุนัขสวยงามมาก เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตชีวา รักเจ้าของ ขี้ประจบ สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตสังคมเล็กๆ เช่นในอพาร์ตเม้นต์ได้ดี
ลักษณะทั่วไป สี มี 2 สีบนตัว สีน้ำตาลทองจะมีอยู่บนใบหน้า อก ท้อง และบริเวณปลายเท้า เส้นขนจะมีสีดำน้ำเงินที่โคนไล่ลงมาถึงตอนกลาง และจะมีสีน้ำตาลทองที่ส่วนปลายหัว ขนข้างจะมีขนาดเล็ก และเรียบไม่นูนกลม ปากแหลมยาวสมส่วน จมูกจะมีสีดำสนิท หูตั้งเป็นรูปตัววี มีขนสั้นๆ สีทองปกคลุม ขนยาวตรงปกคลุมทั้งตัว เท้าค่อนข้างกลมมีเล็บเท้าสีดำ ขาหน้าจะเหยียดตรง ขาหลังมองจากด้านข้างจะโค้งลงที่เข่าเล็กน้อย หางตัดสั้น
สุนัขพันธุ์นี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลา เพราะต้องดูแลเรื่องขนเป็นพิเศษ เป็นสุนัขที่ให้ลูกยาก
ราคาจำหน่าย ระดับเลี้ยงเล่นทั่วไป ประมาณ 8,000 - 20,000 บาท มากกว่านั้นเป็นสุนัขในระดับประกวด




9. บีเกิ้ล (Beagle)
สุนัขในกลุ่ม Hound Group
สุนัขล่ากระต่ายในอดีต มีหูที่ยาวปรกลง มีทั้งพันธุ์ธรรมดา มีความสูงประมาณ 13-15 นิ้ว หนัก 18-20 ปอนด์ และพันธุ์อลิซาเบธ บีเกิ้ล (Elisabeth beagle) มีความสูงไม่เกิน 12 นิ้ว มีน้ำหนักไม่เกิน 20 ปอนด์
บีเกิ้ล มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เป็นสุนัขรักสันติ รักเด็ก ไม่เพียงเป็นสุนัขล่าสัตว์อย่างกระต่ายในอดีต ในหลายร้อยปีก่อนบีเกิ้ลยังถูกนายพรานควบคุมเป็นฝูง เพื่อนำไปล่าหมาป่า กวาง แต่ในระยะหลังใช้บีเกิ้ลเป็นสุนัขคาบนกที่เจ้าของล่าได้ เนื่องจากบีเกิ้ลสืบสายพันธุ์มาจากสุนัขดมกลิ่น ประสาทในการรับกลิ่นดีเยี่ยม
แต่สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ คงไม่ดีแน่หากหวังจะใช้เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความเป็นสุนัขสังคม ไม่ชอบยึดอยู่กับสิ่งใดเพียงสิ่งเดียว อาจทำให้บีเกิ้ลหงุดหงิดได้ง่าย บีเกิ้ลจึงเหมาะที่จะเลี้ยงไว้เพื่อสร้างมิตรภาพกับบุลคลในครอบครัวมากกว่า
ลักษณะทั่วไปของบีเกิ้ล มักมีขนสามสีบนตัว คือ สีขาว สีดำ และน้ำตาล สีที่อกโดยมากเป็นสีขาว ส่วนสีดำกับสีน้ำตาลนั้นจะอยู่บนลำตัว และแผ่นหลังด้านใต้ท้องก็จะเป็นสีขาวเช่นกัน หน้าผากจะตั้งชัดเจน ใบหูยาวปรกลง ขนสั้นตรง หางยาวปานกลาง ค่อนข้างตรงชี้ขึ้น ขนาดกะทัดรัด รูปร่างแข็งแรง
ราคาจำหน่าย ระดับประกวด 15,000 บาท ขึ้นไป ระดับเลี้ยงเล่น ประมาณ 10,000-15,000 บาท





10. ชิ วา วา (พันธุ์ขนเรียบ),(Chihuahua smooth coat)
สุนัขในกลุ่ม Toy Group
ยังคงครองอันดับ 10 อย่างอยู่ตัว ตั้งแต่ ปี 2545 เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ขนาดพกพา ตาโต ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก อดีตเป็นสัตว์ที่เป็นอาหารและถูกบูชายัญ มีสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ขนเรียบและพันธุ์ขนยาว
ชิ วา วา มีความสูงไม่เกิน 5 นิ้ว มีน้ำหนักเฉลี่ย 0.9 - 2.7 กิโลกรัม จัดว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลก มีทั้งสีขาว สีน้ำตาลอ่อน สีทราย สีดำ อาจมีสีเดียวอย่างแดงน้ำตาล ทอง หรือสลับขาวน้ำตาล หัว หน้าผากต้องกลมโค้งเป็นรูปแอปเปิ้ล หูตั้ง ปากสั้นแหลม ขนสั้น ถ้าเป็นพันธุ์ขนยาวจะไม่หยิกม้วน
สุนัขพันธุ์นี้หลายคนต่างหลงใหลเพราะเป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์ มีเสน่ห์ ขี้ประจบ เป็นสุนัขเฝ้าระวัง เตือนภัยได้ดี เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก แต่ไม่ชอบอากาศเย็น
ราคาจำหน่าย ทั่วไปเริ่มต้นที่ 4,000-10,000 บาท ระดับประกวด ราคา 10,000 บาท ขึ้นไป
...ส่วนสุนัขพันธุ์ไทยอย่าง ไทยหลังอานและไทยบางแก้ว ก็เริ่มยกอันดับตัวเองขึ้นมาเช่นกัน ปัจจุบัน ไทยหลังอานอยู่ในอับดับที่ 13 ส่วนไทยบางแก้ว อยู่ในอันดับที่ 17
ทั้งนี้ ยังมีสุนัขอีกจำนวนมากที่อยู่นอกการจดทะเบียน...เพียงมองเห็นด้วยสายตาก็รู้แล้วว่าจำนวนสุนัขทั้งไทยและต่างประเทศมีจำนวนมากแค่ไหน
แต่ทว่าความสำคัญของผู้เพาะพันธุ์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องปริมาณ เพราะสายพันธุ์ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ สุขภาพดีเท่านั้น จึงจะทำให้วงการสุนัขอยู่รอด

หน้า 48
เทคโนโลยีชาวบ้าน
วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 352

http://www.ee43.com/content/topic/242.html

การเลี้ยงไก่แบบปศุสัตว์อินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

                   การเลี้ยงไก่ไข่แบบปศุสัตว์อินทรีย์มีแนวความคิดตั้งแต่การระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี 2547 เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นประเทศที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกและมีคนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ทำให้การเลี้ยงสัตว์ปีกมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเกิดผลกระทบจากการระบาด คือ ประชาชนตื่นตระหนก ขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ทำให้ผลผลิตขายไม่ได้ประมาณ 2-3 เดือน จึงเกิดแนวความคิดที่ว่าจะดำเนินธุรกิจเลี้ยงไก่ไข่ต่อไปอย่างมั่นคงได้อย่างไรในภาวะวิกฤติเช่นปัจจุบัน อุดมชัยฟาร์มจึงกลับมาสำรวจจุดอ่อนจุดแข็งของเราว่ามีอะไรบ้าง จึงเริ่มลดค่าใช้จ่ายเป็นลำดับแรก และเปลี่ยนระบบบริหารจัดการ ดังนี้
         1.  งดซื้อยาปฏิชีวนะและวิตามินผสมน้ำ เนื่องจากในอดีตการเลี้ยงไก่เริ่มตั้งแต่ลูกไก่ไข่จนถึงไก่ไข่กำลังให้ไข่ จะต้องมีการวางโปรแกรมการให้ยาปฏิชีวนะและวิตามินผสมน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง ในยามอากาศปกติ แต่หากสภาพอากาศไม่ดี เช่น ฝนตก อากาศชื้น หนาวหรือร้อนจัด ก็จะเพิ่มความถี่ในการให้ยาและวิตามิน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์และในขณะเดียวกันอาจพบสารตกค้างในผลผลิตและอาจมีผลกระทบในด้านสุขภาพต่อผู้บริโภค
       
         2.  ลดปริมาณการเลี้ยงให้เหมาะสมกับความต้องการ ให้เกิดเสถียรภาพและมั่นคงโดยเน้นสุขภาพสัตว์และผลผลิตที่ปลอดภัยทั้งทางเคมีและชีวภาพ จากการระบาดของไข้หวัดนกในปี พ.ศ.2547 ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลงอย่างรุนแรง ทำให้กำลังการผลิตเกินความต้องการบริโภค ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดจึงเป็นผลที่ตามมาซึ่งอุดมชัยฟาร์มตระหนักเสมอว่าการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องดำเนินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงลดกำลังการผลิตจาก 450000 ตัว เหลือเพียง 50000 ตัวในปัจจุบัน และปรับโครงสร้างการเลี้ยงจากเลี้ยงไก่ไข่แบบเคมีมาเป็นไก่ไข่อินทรีย์ จากการลดปริมาณการเลี้ยงทำให้ไก่ไข่มีสุขภาพแข็งแรงไม่ต้องใช้ยาเพื่อรักษา ไข่ไก่ที่ได้จึงปราศจากสารเคมีและเป็นไข่ไก่เพื่อสุขภาพโดยแท้จริง
         3.   ผลิตอาหารไก่ไข่ที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย ตามหลักโภชนะของสัตว์ ในการเลี้ยงสัตว์นั้น อาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญ การดำเนินธุรกิจเลี้ยงไก่ไข่ อาหารย่อมเป็นปัจจัยต้นๆของความแข็งแรงและสมบูรณ์ของแม่ไก่ไข่ เพราะไม่เพียงเพื่อดำรงชีวิตของตัวแม่ไก่ไข่เอง แต่แม่ไก่ไข่ยังต้องนำอาหารไปผลิตเป็นไข่ไก่ที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัยอีกด้วย ดังนั้น อุดมชัยฟาร์มจึงมีโรงผลิตอาหารเพื่อใช้เลี้ยงไก่ไข่ขึ้นเองภายใน เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของแม่ไก่ไข่ และยังสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่อีกด้วย การผลิตอาหารจะคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติ กล่าวคือ จะไม่นำเอาสารเร่งและสารปรุงแต่งใส่ไปในอาหารเพื่อเลี้ยงแม่ไก่ไข่โดยเด็ดขาดและวัตถุดิบที่นำมาผลิตอาหารไก่ไข่นั้น ยังเป็นวัตถุดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมด เช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ปลาป่นและรำละเอียด (รำสด) จึงปราศจากพืชตัดแต่งพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms or GMOs) โดยสิ้นเชิง
          4.  จากการงดใช้ยาปฏิชีวนะและเคมีภัณฑ์ จึงต้องให้ความสำคัญของสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้จากท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและรักษาโรคในบางโอกาส สมุนไพรไทย ได้แก่ ฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชัน ฯลฯ การดูแลสุขภาพไก่ให้แข็งแรง ไม่เลี้ยงในเชิงปริมาณแต่จะเน้นที่คุณภาพ โดยนอกจากมีการให้สมุนไพรไทยแล้ว น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นใช้เองงภายในฟาร์มก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อช่วยลดความเครียด เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการย่อยและดูดซึมอาหาร เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคให้กับแม่ไก่และยังสามารถลดและดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายในโรงเรือนนอกจากนี้ยังสามารถรักษาระบบนิเวศน์วิทยา
           5.  ประยุกต์ใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) จึงปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกและโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายในสัตว์ และยังนำความรู้ดังกล่าวเสนอแนะคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน จนสามารถควบคุมโรคดังกล่าว และได้รับโล่เกียรติคุณจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
           6.  รักษาระบบนิเวศน์วิทยาในการเลี้ยงสัตว์ คือ ไม่ตัดโค่นต้นไม้ยืนต้น แต่จะอนุรักษ์และปลูกเพิ่ม เพื่อลดภาวะโลกร้อนและรักษาสมดุลย์ทางระบบนิเวศน์วิทยา กล่าวคือ การเลี้ยงสัตว์ต้องอาศัยระบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การเลี้ยงไก่ไข่มีอายุการเลี้ยงที่ยาวนาน ดังนั้นจึงมีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบกับตัวสัตว์แล้วอาจโน้มนำและก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา เช่น ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพสัตว์นั้นนอกเหนือจากตัวสัตว์เองแล้ว การจัดการฟาร์มก็เป็นอีกปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา สภาพแวดล้อมที่สัตว์อยู่อาศัยเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม การรักษาไม้ยืนต้นที่มีอยู่เดินตามธรรมชาติ นอกจากช่วยในด้านอากาศและร่มเงาแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ในท้องถิ่นด้วย ทางฟาร์มมีนโยบายปลูกต้นไม้เพิ่มเติมเพื่อช่วยในเรื่องสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มและเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนอีก
           7.   ส่งเสริมให้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภค หากมีเหลือก็แจกจ่ายให้กับลูกค้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นอกจากนี้ยังปลอดภัยจากยาเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกจึงมั่นใจในความปลอดภัยของผักและผลไม้ที่ผลิตได้ภายในฟาร์มอีกด้วย

http://voramon.wordpress.com/2010/08/06/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7/

โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจแบบพอเพียง การเลี้ยงปลาดุก



http://www.youtube.com/watch?v=VAFw5dlVNoo

สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งขาว

สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งขาว

                                                                                           ชวนพิศ  สิทธิมังค์

1.บทนำ
            ปัญหาทางการผลิตและการตลาดกุ้งกุลาดำในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา( 2544-2546)  ทำให้ผู้เลี้ยงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งเป็นกุ้งที่มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแถบประเทศลาตินอเมริกา อมริกา  อาฟริกา  และบางประเทศในทวีปเอเซีย  และเมื่อประเทศไทยประสบกับปัญหาทางการตลาดดังที่กล่าวข้างต้น  กรมประมงจึงได้อนุญาตให้เอกชนนำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวเข้ามาเพาะเลี้ยง  โดยอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี  โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม  2545 จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธุ์  2546
            อย่างไรก็ตามในระหว่างปี 2540-2541       ได้มีเอกชนได้นำกุ้งขาว P.Vanamei  จากประเทศไต้หวันมาทดลองเลี้ยงในจังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก   มีทั้งได้ผลดีเพราะเลี้ยงด้วยอาหารกุ้งกุลาดำที่มีโปรตีนสูงและล้มเหลวเพราะติดโรคตัวแดงดวงขาว  นอกจากนี้ผู้เลี้ยงในภาคตะวันออกบางราย  ได้พัฒนาการเลี้ยงต่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์รุ่น F2 และ F3   และได้มีการทดลองเลี้ยงในบ่อดินมาตามลำดับ   อีกทั้งยังมีการนำลูกกุ้งขาวเข้ามาในประเทศเป็นประจำโดยสำแดงสินค้าว่าเป็นลูกกุ้งกุลาดำ[1]  ดังนั้นกรมประมงจึงได้ออกประกาศงดอนุญาตนำลูกกุ้งทะเลเข้ามาในราชอาณาจักร  ในระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะที่การเลี้ยงและการตลาดกุ้งกุลาดำมีปัญหามาก  จึงมีเอกชนหลายรายพยายามหาทางที่จะนำกุ้งขาวเข้ามาเลี้ยง  แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต  ต่อมา(6 ส.ค 2544)บริษัทแซมได้ทำหนังสือ  เสนอข้อมูลต่างๆ ที่เคยเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 15 ปี และปัญหากุ้งกุลาดำที่เกิดขึ้น  ตลอดจนต้องการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดโลก  จำเป็นต้องหากุ้งพันธุ์อื่นๆมาเลี้ยงเพื่อทดแทนสักระยะหนึ่ง  อีกทั้งบางประเทศสามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งปลอดเชื้อ(SPF)ได้แล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา  หากกรมประมงออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขให้รัดกุม  เช่น การควบคุมตรวจสอบ  มีในรับรองที่เชื่อถือได้   ก็น่าจะอนุญาตให้นำเข้าพ่อแม่กุ้งขาวเข้ามาในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงได้    ดีกว่าจะปล่อยให้มีการลักลอบการนำเข้า  ซึ่งยากต่อการควบคุม   และเนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งที่เลี้ยงง่ายและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี   โดยเฉพาะการปรับตัวให้อยู่ในน้ำที่มีความเค็มตั้งแต่ 0.5-35 ppt ได้  จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด   จึงทำให้มีการเรียกร้องนำเข้ากุ้งขาวเพื่อการเพาะเลี้ยงมีมากขึ้น
                       
            ดังนั้น กรมประมงได้ออกระเบียบว่าด้วยการขอหนังสือรับรองโรงเพาะฟักกุ้งขาว P.vanamei  เพื่อการเพาะพันธุ์ พ.ศ 2545  โดยอนุญาตให้นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่ปลอดเชื้อเข้ามาในประเทศเพื่อเพาะพันธุ์ตั้งแต่ 11 มีนาคม – 31สิงหาคม 2545  และขยายเวลาต่ออีก 6 เดือน จนถึง 28  กุมภาพันธุ์ 2546    หลังจากนั้น ได้ว่าจ้างหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาโครงการประเมินผลกระทบการนำกุ้งขาว P.vanamei เข้าประเทศไทย

2.ทบทวนผลการเลี้ยงกุ้งขาวของภาคเอกชน[2]
            โรงเพาะฟักที่นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวเข้ามาเพาะพันธุ์  และกระจายลูกกุ้งที่ได้ไปเลี้ยงยังฟาร์มต่างๆทั่วประเทศ  โดยส่วนใหญ่จะปรับเปลี่ยนจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเลี้ยงกุ้งขาว  หรือเลี้ยงกุ้งทั้ง 2 ชนิดในฟาร์มเดียวกัน  หรือปล่อยกุ้งทั้ง 2 ชนิดลงเลี้ยงร่วมกัน
            การปล่อยกุ้งขาวขนาด PL10 เพื่อเลี้ยง  น้ำควรมีความเค็มขนาด 10-45 ppt แต่ถ้าหากความเค็มต่ำกว่านี้คือประมาณ 2-9 ppt ควรปล่อยลูกกุ้งขนาด PL13 ขึ้นไป  หรือหากความเค็มน้อยกว่า 2 ppt  ลูกกุ้งที่ปล่อยควรมีขนาด PL15 ขึ้นไป   อย่างไรก็ตามลูกกุ้งที่ปล่อยควรจะปรับความเค็มมาแล้วจากโรงเพาะฟัก  ส่วนอัตราการปล่อยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบ่อเลี้ยง 
            วารสารประมงธุรกิจปีที่3 ฉบับที่34 ประจำเดือนสิงหาคม 2545  ได้นำเสนอผลการเลี้ยงของเอกชนรายหนึ่งว่า เกษตรกรจะปล่อยกุ้งขาว 40 ตัว/ตารางเมตร ราคาลูกกุ้งตัวละ 13 สตางค์  ลงทุนทั้งสิ้น 38,000 บาท  เมื่อจับจำหน่ายจะได้ราคาประมาณ 4 เท่าของต้นทุนดังกล่าว
            จากรายงานของตะวันออกแฮชเชอรี่  เป็นหนังสือคู่มือ ชื่อว่า “กุ้งขาววานามายเคล็ดไม่ลับกับวิธีการเลี้ยงกุ้งขาว” รายงานว่า จากผลการเลี้ยงในบ่อต่างๆ 6 บ่อ ขนาด 2-3.5 ไร่ ปล่อยกุ้ง 150,000 – 350,000 ตัว/บ่อ  อายุการเลี้ยง 87-102 วัน  จับกุ้งได้ขนาด 90-72 ตัว/ก.ก อัตราการรอดร้อยละ 82-94  อัตราแลกเนื้อ 1.17-1.34  ผลผลิตที่ได้1.566-3.676 ตัน/บ่อ
            จากวารสารสัตว์น้ำ ปีที่ 14 ฉบับที่ 168 สิงหาคม 2546  มีการรายงานถึงความร่วมมือด้านการเลี้ยงกุ้งขาวระหว่างไทยยูเนี่ยนและกุ้งแซมว่า  ปล่อยกุ้งขาวลงเลี้ยงในอัตรา 300,000 ตัว/ไร่  ขนาดบ่อเลี้ยง 4 ไร่  ระยะเวลาการเลี้ยง 94 วัน อัตรารอดร้อยละ 80 ให้ผลผลิต 17.5 ตัน หรือ 4.4 ตัน/ไร่     
นอกจากนี้เกษตรกรบางราย  ยังได้เปิดเผยถึงการเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อทำพ่อแม่พันธุ์ว่า  ได้ซื้อกุ้งขาวมาจากฟาร์มแห่งหนึ่ง  200,000 ตัว  ในราคาตัวละ 35 สตางค์  เลี้ยงไปเป็นเวลา 4 เดือน  ได้กุ้งประมาณ 80 ตัว/ก.ก  แบ่งขายไปส่วนหนึ่ง  ส่วนที่เหลือจะเลี้ยงต่อจนครบ 11 เดือน  จึงขายต่อเป็นพ่อแม่พันธุ์  ซึ่งกุ้งแต่ละรุ่นจะเลี้ยงเป็นเวลา 10-12 เดือน   ได้กุ้งขาวขนาดตัวละ 40-45 กรัม  พ่อแม่พันธุ์ขนาดดังกล่าวจะขายได้ราคา ตัวละ 200-300 บาท  หรือบางครั้งจะซื้อกุ้งที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้วประมาณ 3 เดือน  มีขนาดประมาณ 70 ตัว/ก.ก  ราคา 250 บาท/ก.ก  และการซื้อกุ้งดังกล่าวจะตรวจเชื้อต่างๆก่อน  เช่น โรคหัวเหลือง  ตัวแดงดวงขาว แต่ไม่ได้ตรวจโรค TSV (ไม่มีเครื่องมือ)   เลี้ยงกุ้งในอัตรา 3,500 ตัว/ไร่ ที่ความเค็ม 12 ppt  การเลี้ยงแต่ละรุ่นจะได้พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ ร้อยละ 40-50  และจากการสำรวจโรงเพาะฟักกุ้งขาวในภาคกลาง  และภาคใต้ในเดือน ธันวาคม 2546 พบว่า  โรงเพาะฟักส่วนใหญ่จะได้พ่อแม่กุ้งมาจากกุ้งเลี้ยงดังกล่าวแล้วข้างต้นมาผลิตเป็นนอเพลียส เพื่อจำหน่าย  โดยแต่ละฟาร์มจะมีการผลิตประมาณ 6 ล้านตัว/วัน ถึงเกือบ 100 ล้านตัว/วัน  แต่ถ้าราคากุ้งขาวต่ำลงและไม่มีผู้เลี้ยงสั่งซื้อลูกกุ้ง  โรงเพาะฟักเหล่านี้จะหยุดดำเนินการชั่วคราว  จะมีเพียงบางโรงเท่านั้นเท่านั้นที่เสี่ยงเพาะลูกกุ้งและเลี้ยงจนถึงระยะ post larvae   เมื่อไม่มีคนซื้อเจ้าของโรงเพาะฟักก็ปล่อยลูกกุ้งเหล่านี้ลงทะเลไป
แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลของพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่นำเข้ามาในประเทศไทย  แต่จากการเลี้ยงในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ลูกกุ้งที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์เหล่านี้เจริญเติบโตได้ดี  มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจในระยะเวลาการเลี้ยง 3 เดือน  และยิ่งไปกว่านั้นการที่มีการผลิตพ่อแม่พันธุ์จากลูกกุ้งเหล่านี้ยังพอแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้าในตอนต้นนั้นไม่มีปัญหาทางพันธุ์กรรม   ส่วนการแคระแกรนในลูกกุ้งบางฟาร์มอาจจะสันนิษฐานได้ทั้งสองลักษณะ คือ ทั้งจากพันธุ์กรรมและจากการติดเชื้อแคระแกรน  ซึ่งน่าจะมีการศึกษาในเรื่องนี้เฉพาะต่อไป
แนวโน้มการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่ภาคกลางในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2546  ค่อนข้างเพิ่มมากกว่าในช่วงต้นปี2546  เนื่องจากในช่วงกลางปีราคากุ้งขาวดักว่ากุ้งกุลาดำและเลี้ยงได้ผลดีกว่า  ดังนั้นความต้องการลูกกุ้งขาวจะสูงมากในเดือนก.ย-ต.ค  ทำให้พื้นที่การเลี้ยงกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงมาก คือในเดือนตุลาคม 2546 จะมีการลงกุ้งขาวถึง 80%  มีกุ้งกุลาดำ 20% ของพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่น้ำจืด  เช่นเดียวกับพื้นที่ภาคใต้ในจังหวัดภูเก็ต  พบว่าโรงเพาะฟักที่เคยผลิตลูกกุ้งกุลาดำก็เปลี่ยนมาเป็นผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมแทนความต้องการของตลาด

3.การผลิต
            ประมาณการผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยในปี 2546 แบ่งตามแหล่งที่มา ดังนี้
                        3.1 กุ้งเพาะเลี้ยง    รวม    335,000  ตันแยกเป็น
                                    กุ้งกุลาดำ            155,000 ตัน
                                    กุ้งขาว                 180,000 ตัน
                        3.2 กุ้งจับจากธรรมชาติ       56,500 ตัน
                        3.3 กุ้งนำเข้า                       25,000 ตัน
                                    รวมทั้งสิ้น             416,500 ตัน
            
4.ต้นทุนการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม
              ส่วนเศรษฐกิจการประมงได้ศึกษาเบื้องต้นต้นทุนการเลี้ยงกุ้งแวนนาไม พบว่าต้นทุนการเลี้ยงจะผันแปรตามราคาของลูกกุ้ง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ จึงมีผลทำให้ราคาลูกกุ้งมีราคาสูงขึ้น  ซึ่งจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายผันแปรที่สำคัญ คือ ค่าอาหารกุ้ง และ ค่าพันธุ์กุ้ง  ต้นทุนต่อกิโลกรัมอยู่ระหว่าง 79 – 95 บาท ( เฉลี่ย 87 บาท/กิโลกรัม) โดยต้นทุนผันแปรตามราคาลูกกุ้งเป็นสำคัญ ส่วนการจัดการระบบการเลี้ยง อัตราการเจริญเติบโต และอัตรการรอดตาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพลูกกุ้งมีความผันแปรไม่มากนัก เนื่องจากกุ้งขาวแวนนาไมมีอายุการเลี้ยงสั้น การเจริญเติบโตและอัตรารอดไม่ผันแปรมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมเป็นพันธุ์กุ้งที่ผ่านการคัดพันธุ์มาแล้วอย่างดีหลาย Generation
 


5.ราคากุ้งขาว
                เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงกุ้งขาวที่ต่ำกว่ากุ้งกุลาดำค่อนข้างมาก   ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันได้ง่ายกว่า  ตลอดจนการเลี้ยงง่ายกว่าผลผลิตและมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน  ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น  ปัจจุบันราคากุ้งขาวมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกขนาด   อย่างไรก็ตามในขนาดกลางและใหญ่ (30-60 ตัว/ก.ก)  ราคากุ้งกุลาดำมีราคาที่สูงกว่ากุ้งขาว  แต่ถ้าเป็นขนาด70-80 ตัว/ก.ก ราคากุ้งขาวจะสูงกว่ากุ้งกุลาดำ


6.เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียการเลี้ยงกุ้งขาว[3]

ข้อดี                        1. จากกุ้งเนื้อส่วนหนึ่งจะเก็บไว้เลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ง่าย  สามารถเลี้ยงในบ่อดินเป็นเวลา 10-12 เดือน  จะได้พ่อแม่พันธุ์ขนาด 40 กรัม มีการตกไข่ประมาณ 100,000 ฟอง
                        2. กุ้งขาวสามารถปรับตัวได้ดีในสภาวะต่างๆ ทั้งด้านอุณหภูมิ  ความเค็มของน้ำและการกินอาหาร  สามารถเลี้ยงได้ทั่วไปรวมทั้งในพื้นที่น้ำจืด
                        3.สามารถปล่อยกุ้งขาวลงเลี้ยงในอัตราที่หนาแน่นได้  เพราะมีนิสัยกระจายอยู่ทั่วทุกระดับความลึกและกินอาหารธรรมชาติได้ดี  และผลผลิตที่ได้ต่อไร่สูง คือประมาณ 1-4 ตัน/ไร่ ในระยะเวลา 3 เดือน 
                        4. ต้นทุนการผลิตคอนข้างต่ำเพราะสามารถใช้อาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนน้อยได้  ซึ่งมีราคาต่ำ
                        5.เมื่อภาวะการตลาดกุ้งกุลาดำประสบปัญหา  สามารถสลับมาเลี้ยงกุ้งขาวได้โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำได้  เป็นการรักษาธุรกิจและตลาดส่งออกกุ้งทะเลที่ไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นกุ้งชนิดอะไร

ข้อเสีย                        1.โรคที่ติดมากับกุ้งขาวอาจมีการระบาดเข้าสู่กุ้งพื้นเมืองและเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
                        2.ข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงกุ้งขาว เช่นต้นทุนที่ต่ำกว่า และราคาขายเป็นสิ่งจูงใจผู้บริโภค  อาจทำให้การเลี้ยงกุ้งกุลาดำอันเป็นกุ้งเศรษฐกิจอาจสลายไป
                        3.ด้วยคุณสมบัติของกุ้งขาวทำให้มีผู้นิยมเลี้ยงทั่วโลก  บางประเทศเช่น จีน อินโดนีเซียมีความได้เปรียบประเทศไทยในด้านแรงงานและการตลาด  จะทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำในอนาคตได้เช่นกันกับกุ้งกุลาดำได้
                        4.ลูกกุ้งที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์ที่ได้จากการเลี้ยงในบ่อเหล่านี้จะมีคุณภาพเพียงพอต่อไปหรือไม่  และกุ้งขาวมีโอกาสติดเชื้อต่างๆของกุ้งกุลาดำ หรือสายพันธุ์อื่นๆที่มีอยู่ในประเทศได้
                                                                       


--------------------------------------------------------------------------------
[1] รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์: โครงการประเมินผลกระทบการนำกุ้งขาวเข้าประเทศไทย หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มีนาคม 2547
[2] รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ : หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มีนาคม 2547
[3] นิตยสารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปีที่ 3  ฉบับที่ 22 เดือนเมษายน 2547

http://www.fisheries.go.th/extension/whitesh.htm

การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก



เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ คุณยลวิไล ประสมสุข เป็นผู้อำนวยการสำนักฯ นั้น ได้จัดการฝึกอบรมครูผู้รับผิดชอบโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนของภาคเหนือ จำนวน 85 คน และพร้อมกันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเกษตร มีจุดเรียนรู้ที่น่าสนใจและเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ แบบพอเพียงพึ่งพาตนเอง ได้แก่ การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก

การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก
“เมื่อก่อนนี้ การเลี้ยงกบมักมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลงทุนสูง และกบมักกัดกินกันเอง แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นหาวิธีการเลี้ยงกบให้คุ้มค่าและเหมาะสม โดยหาวัสดุในท้องถิ่นที่ใช้แล้วนำมาดัดแปลง และยางรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว ก็เป็นวัสดุที่นำมาใช้ในการเลี้ยงกบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยนำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายกับอาคารคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่น้อย แต่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มาก” จึงเป็นที่มาของการเลี้ยงกบคอนโดฯ จากการบอกกล่าวของ ร.ต.ประกอบ สีขาว วิทยากรฐานการเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอ เพียงภาคเหนือ

วิธีการสร้างคอนโดฯ เลี้ยงกบร่วมกับปลาดุก
การคัดเลือกพื้นที่สำหรับสร้างคอนโดฯ ควรอยู่ใกล้บ่อปลาดุก เพื่อสะดวกในการวางท่อระบายอาหารและน้ำจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก สำหรับวิธีการสร้างคอนโดฯ มีขั้นตอน ดังนี้
1. วางระบบท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำทิ้งจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก
2. นำยางรถยนต์มาวางทับกึ่งกลางท่อระบายน้ำ แล้วใช้ปูนซีเมนต์ยาแนวให้เป็นรูปก้นกระทะด้านล่างสุด เพื่อสะดวกในการให้อาหาร และระบายน้ำ (ถ้าเลือกได้ควรเป็นยางรถปิคอัพ 4 WD เพราะมีขนาดใหญ่ สามารถเลี้ยงกบได้จำนวนมาก)
3. ทิ้งปูนให้แห้ง แล้วเทน้ำใส่ให้ท่วมปูน ตัดต้นกล้วยเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาใส่เพื่อเจือจางความเป็นกรดและความเค็มของปูน จากนั้นระบายน้ำทิ้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์
4. ทำหลังคาซาแรนบังแดด เพื่อไม่ให้ยางถูกแสงแดดมากจนเกินไป ซึ่งจะทำความเสียหายกับกบได้
5. นำยางมาวางซ้อนกัน 3 ชั้น
6. ปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว
7. ใช้ฝาพัดลมเก่าปิดปากด้านบนคอนโดฯ เพื่อป้องกันกบกระโดดออก

วิธีการเลี้ยงกบคอนโดฯ
เมื่อปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว ระยะเดือนแรกให้อาหารปลาดุกเล็ก เดือนที่สองให้อาหารปลาดุกรุ่น และเดือนที่สามไปแล้วให้อาหารปลาดุกใหญ่ การให้อาหารจะต้องปิดรูระบายน้ำ เติมน้ำให้เต็มกระทะ โรยอาหารลงไปให้ลอยน้ำ กบจะลงมากินอาหารจนอิ่ม แล้วก็จะกลับเข้าไปหลบอาศัยอยู่ในวงยางตามเดิม ควรใส่น้ำในขอบวงยางเพื่อให้ความเย็นแก่กบและถ่ายน้ำทุกวัน เช้าและเย็นก่อนให้อาหาร โดยใช้ขวดน้ำกลั่นที่ใช้แล้ว ตัดเป็นกรวยตักน้ำออกจากวงยาง แล้วระบายน้ำลงสู่บ่อปลาดุก ซึ่งปลาดุกจะได้อาหารเหลือเหล่านั้น สำหรับการใช้ขวดน้ำกลั่นตัดเป็นกรวยตักน้ำเพราะมีความอ่อนสามารถตักน้ำจากวง ยางได้หมด แม้จะตักถูกตัวกบก็ไม่ระคาย การเลี้ยงกบคอนโดฯ นี้ ไม่แนะนำให้ใช้ไฟล่อแมลงให้กบกินกลางคืน เพราะกบไม่ได้พักผ่อน จะจ้องแต่กินแมลง และข้อสำคัญคือ เราไม่รู้ว่าแมลงบางชนิดมีพิษอยู่ในตัว หรือแมลงที่ถูกยากำจัดศัตรูพืชและไม่ตายในทันที เมื่อมาเล่นไฟและตกลงไปให้กบกิน กบกินพิษยากำจัดแมลงเข้าไปด้วยก็จะทำให้กบตายในที่สุด แต่ถ้าจะให้อาหารเสริม ควรจะเป็นหนอนหรือไส้เดือนที่เราสามารถเพาะเลี้ยงเองได้
การเลี้ยงกบคอนโดฯ ควรมีการคัดขนาดทุกๆ สัปดาห์ เพราะกบมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ถ้าไม่คัดขนาด จะเกิดปัญหากบกัดกินกันเอง และเมื่อเลี้ยงกบได้ 1 เดือน ควรคัดให้เหลือประมาณ 100 ตัว ต่อคอนโดฯ เพื่อไม่ให้แออัดเกินไป เลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ คิดเป็นเงิน 1,750 บาท ต่อคอนโดฯ
(กบ 100 ตัว ต่อคอนโดฯ เฉลี่ยได้น้ำหนัก 25 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 บาท : 3-5 ตัว ต่อกิโลกรัม)
สำหรับการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก อัตราการเลี้ยงระหว่างกบกับปลาดุก คือ กบ 100 ตัว หรือ กบ 1 คอนโดฯ จะปล่อยปลาดุก 20 ตัว โดยไม่ต้องให้อาหารปลาดุก ปลาดุกจะกินเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบคอนโดฯ ก็พอเพียงต่อการเจริญเติบโตแล้ว หรือถ้าต้องการให้ปลาดุกโตเร็วขึ้น ก็ให้อาหารเสริมบ้างก็ได้ การจำหน่ายปลาดุก 20 ตัว ประมาณ 5 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 40 บาท ก็จะได้ 200 บาท ดังนั้น ถ้ารวมกับการจำหน่ายกบทั้งหมด จะได้ 1,950 บาท ในพื้นที่ประมาณ 10 ตารางเมตร

ข้อดีของการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก
1. เป็นการใช้อาหารอย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า เพราะเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบ จะเป็นอาหารของปลาดุกอีกต่อหนึ่ง
2. ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างบ่อเลี้ยงกบ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จากสิ่งเหลือใช้ ได้แก่ ยางรถยนต์เก่า ฝาพัดลมเก่า เป็นต้น
3. การดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ลดปัญหาการเกิดโรค
4. ประหยัดน้ำในการล้างทำความสะอาดบ่อ
5. กบโตเร็ว น้ำหนักดี
6. ลดปัญหาเรื่องการกัดกินกันเอง ทำให้อัตราการรอดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์

การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก เกษตรกร/ผู้ว่างงานสามารถทำได้ ให้ผลเร็ว พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันนี้
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 299-758


SME การเลี้ยงนกกระจอกเทศ

การเลี้ยงนกกระจอกเทศ


นกกระจอกเทศเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงกันในขณะนี้ เพราะนอกจากจะนำเอาเนื้อมาบริโภคแล้ว ยังสามารถนำเอาส่วนต่างๆ ของนกกระจอกเทศมาทำประโยชน์ได้ เช่น นำหนังของนกกระจอกเทศมาผลิตกระเป๋า เข็มขัด ขนของนกกระจอกเทศนำมาทำเครื่องประดับ หรือแม้แต่น้ำมันของนกกระจอกเทศก็สามารถนำมาสกัดใช้ได้ 

ลักษณะโดยทั่วไปของนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์ คือ

1. พันธุ์คอดำ - ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทา ดำ -เท้าและปากสีดำ ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อย มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย และเหมาะกับสภาพแวดล้อมในเมืองไทยมากที่สุด
2. พันธุ์คอแดง - ลักษณะผิวหนังสีชมพูเข้ม ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดลำตัว ยกเว้นปลายหาง และปีกมีสีขาว ส่วนตัวเมีย ขนจะมีสีน้ำตาล เทา ขนาดของนกกระจอกเทศพันธุ์คอแดงจะมีขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตเนื้อมาก แต่ปริมาณไข่น้อย ตัวผู้มีนิสัยดุร้าย โดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์
3. พันธุ์คอน้ำเงิน - ลักษณะผิวหนังมีสีฟ้าอมเทา สีขนเหมือนกับพันธุ์คอแดง แต่ตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่จะให้ผลผลิตไข่ในปริมาณที่มากกว่าพันธุ์คอแดง

 

การผสมพันธุ์


- แม่นกที่มีวัยเหมาะสมในการผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงอายุ 18 เดือน ส่วนพ่อนกจะอยู่ในช่วงอายุ 24 เดือน
- การผสมพันธุ์ไม่สามารถกระทำได้ทันที จะต้องปล่อยให้นกอยู่ด้วยกันประมาณ 6 เดือน
- การผสมพันธุ์จะต้องแยกเป็นคู่ ๆ ภายในคอก ซึ่งล้อมด้วยตาข่ายเหล็กสูงประมาณ 1 เมตรเศษ
- ในโรงเรือนควรจะปรับสภาพของพื้นทรายไว้ เมื่อแม่นกออกไข่ก็จะสามารถนำไข่มาเข้าตู้ฟักได้เลย

ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตดูพฤติกรรมของนกว่า พ่อแม่พันธุ์คู่ใดสามารถเข้าคู่กันได้ จึงนำมาตรวจสอบสายพันธุ์ นกทั้งสองตัวจะต้องไม่มีสายเลือดเดียวกัน โดยนกทุกตัวจะต้องมีประวัติ มีเบอร์ติดที่คอ และฝังไมโครชิบไว้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน


การวางไข่


หลังจากที่นกผสมพันธุ์กัน แม่นกจะอาศัยอยู่ในโรงเรือนที่เตรียมไว้เพื่อวางไข่ ในโรงเรือนควรเกลี่ยทรายรองพื้นเป็นรังไข่ไว้ ซึ่งพอแม่นกออกไข่ครบตามกำหนด ผู้เลี้ยงก็จะสามารถนำไข่มาเข้าตู้ฟักได้ทันที
หมายเหตุ
- แม่นกสามารถให้ไข่ได้ดีที่สุดในช่วงอายุ 5-10 ปี
- แม่นกบางตัวที่สมบูรณ์ สามารถให้ไข่สูงสุดประมาณ 80 ฟองต่อปี แต่ถ้าแม่นกมีอายุมากขึ้น แม่นกจะให้ไข่ในปริมาณที่น้อยลง
- ในต่างประเทศแม่นกจะสามารถให้ไข่ได้จนถึงอายุ 40 ปี


ระยะเวลาการฟักไข่


หลังจากแม่นกออกไข่แล้ว จะนำไข่เข้าตู้ฟัก เมื่อลูกนกฟักเป็นตัว จะถูกแยกมาเลี้ยงในโรงอนุบาลประมาณ 1 เดือน จากนั้น จะปล่อยไปอยู่รวมกันด้านนอก เป็นโรงเรือนเลี้ยงลูกนก จนอายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกไปอยู่อีกโรงเรือนหนึ่ง พออายุครบ 6 เดือน ก็จะย้ายไปเลี้ยงรวมกันกับนกตัวอื่นๆ กระทั่งเมื่อนกกระจอกเทศเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ซึ่งมีอายุประมาณ 18-24 เดือน จึงจะแยกเลี้ยงอีกครั้ง โดยแยกออกเป็นคู่ๆ เพื่อให้ผสมพันธุ์กัน


การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศในช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์

อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ในระยะนี้คือ อุปกรณ์สำหรับให้น้ำ ให้อาหาร เครื่องฟักไข่ วัสดุรองพื้น เป็นต้น ผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อม นอกจากนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว (เครื่องกกลูกนกจะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้งานจริงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง) สำหรับข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการและการเลี้ยงดูลูกนกกระจอกเทศในระยะนี้ มีดังนี้
1. เปิดสวิทซ์ไฟเครื่องกกก่อนนำลูกนกกระจอกเทศเข้ามาประมาณ 3-4 ชั่วโมง โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 90-95 องศาฟาร์เรนไฮต์
2. เติมวิตามินในน้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ก่อนที่จะให้ลูกนกกินประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำให้มีความใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อม และให้ลูกนกกินน้ำผสมวิตามินประมาณ 10-14 วัน
3. ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2-3 วันแรก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพื่อให้ลูกนกกระจอกเทศดูดซึมอาหารและย่อยไข่แดงหมดเสียก่อน จากนั้นให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 20-22% พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซี่ยม 1.4 % ฟอสฟอรัส 0.7% หลังจากนั้น 7-10 วัน อาจให้หญ้าสดที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ แก่ลูกนกกระจอกเทศเพิ่มขึ้น
4. ระยะแรก ลูกนกกระจอกเทศจะยังไม่รู้จักน้ำและอาหาร ผู้เลี้ยงควรนำลูกนกไปยังที่ให้น้ำแล้วจับปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง และนิสัยโดยทั่วไปของนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ร่าเริง ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารอาจจะใส่ลูกบอลพลาสติก ลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วย จิกกินอาหารไปด้วย วิธีนี้จะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น
5. ควรขยายพื้นที่บริเวณที่ใช้กกลูกนก (ขยายวงล้อมกก) ออกทุกๆ 3-4 วัน การขยายพื้นที่ออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ และควรลดอุณหภูมิในบริเวณที่ใช้กกลูกนกครั้งละ 5 ํF โดยจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศประมาณ 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
6. อัตราการเจริญเติบโตในระยะแรก นกกระจอกเทศจะมีอัตราการเติบโตประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจึงน้อยกว่า 1 ฟุตต่อเดือน
7. ควรให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ให้ลดระยะเวลาในการให้แสงสว่างลงเหลือ 20-23 ชั่วโมง
8. ควรตรวจดูวัสดุรองพื้นอยู่เสมอ ไม่ให้ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย ถ้ามีต้องรีบแก้ไขทันที
9. ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่ปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อน ไม่แข็งแห้ง ปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำใส ไม่เหนียว หรือขุ่นข้น
10. ควรเอาใจใส่เรื่องสุขาภิบาล เมื่อนกกระจอกเทศแสดงอาการผิดปกติ ผู้เลี้ยงจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขโดยด่วนต่อไป


การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1-3 เดือน)
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการกกลูกนกกระจอกเทศ หรือเห็นว่าลูกนกแข็งแรงดีแล้ว ผู้เลี้ยงควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ยกเครื่องกกออกด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ลูกนกตกใจ และสังเกตอาการของลูกนกกระจอกเทศ หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยทันที
2. ภาชนะที่ให้อาหาร ควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้อาหารลูกนกกระจอกเทศครั้งละน้อยๆ วันละ 4-5 ครั้ง ส่วนภาชนะที่ให้น้ำ ควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีน้ำให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลาด้วย
3. เมื่อลูกนกกระจอกเทศแข็งแรงและสมบูรณ์ดีแล้ว ควรปล่อยให้ลูกนกได้ออกไปเดินเล่นข้างนอกโรงเรือนอนุบาลบ้าง เพราะจะทำให้ลูกนกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. ตรวจสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศเป็นประจำทุกวัน ตลอดจนจัดสภาพแวดล้อม การระบายอากาศและวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
5. จดบันทึกอัตราการตาย การกินอาหาร การให้ยาหรือวัคซีนและอัตราการเจริญเติบโต ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น


การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศเจริญเติบโตเร็วมาก น้ำหนักตัวในระยะนี้จะไม่สอดคล้องกับขาของนกที่มีขนาดเล็ก นกกระจอกเทศจึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขาผิดปกติ ดังนั้น เพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดี ผู้เลี้ยงจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก แนวทางการเลี้ยงดูนกกระจอกเทศในระยะนี้ คือ
1. การให้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศในระยะนี้ ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่ โปรตีน 18% แคลเซียม 1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงควรควบคุมน้ำหนักตัวของนกกระจอกเทศ อย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป เพราะขาของนกยังพัฒนาไม่เต็มที่ พอจะรับน้ำหนักตัวของนกกระจอกเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
2. ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน ส่วนบริเวณภายนอกโรงเรือนที่ให้นกกระจอกเทศเดินเล่น ผู้เลี้ยงจะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่ เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้ (Hardware Disease)
3. จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ โดยกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ 1.5 ตารางเมตร สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือน และบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นอย่างน้อยตัวละ 200 ตารางเมตร นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
4. เพิ่มจำนวนภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง ผู้เลี้ยงควรทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
5. ไม่จำเป็นต้องให้แสงสว่างมากในเวลากลางคืน แสงสว่างตามธรรมชาติที่นกกระจอกเทศได้รับก็เพียงพอแล้ว
6. จดบันทึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการกินอาหาร อัตราการตาย การเจริญโตและอาการผิดปกติต่างๆ


การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
นกกระจอกเทศที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเริ่มให้ผลผลิตเนื้อและผสมพันธุ์ได้ เมื่อเพศเมียมีอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้มีอายุ 2.5 ปีขึ้นไป นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตติดต่อกันได้นานถึง 40 ปี ดังนั้น เพื่อมีผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ผู้เลี้ยงจึงควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ควรให้อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน 15-17% พลังงาน 2,300-2,600 กิโลแคลลอรี่ แคลเซี่ยม 18% ฟอสฟอรัส 0.9% วันละ 1-3 กิโลกรัมต่อตัว และควรเสริมด้วยหญ้า นอกจากนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีหินเกล็ดตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วย เพื่อช่วยในการย่อยอาหารของนก
2. ภาชนะที่ให้น้ำและอาหาร ผู้เลี้ยงควรหมั่นทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำตั้งไว้ให้นกกินอยู่ตลอดเวลา
3. อัตราส่วนของคู่ที่ใช้ผสมพันธุ์ คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1-3 ตัว
4. จัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยใช้อัตราส่วนพื้นที่ภายในโรงเรือนตัวละ 5-8 ตารางเมตร และบริเวณลานนอกโรงเรือนตัวละ 400-500 ตารางเมตร นอกจากนี้ควรเลี้ยงฝูงละประมาณ 2-4 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1-3ตัว) เท่านั้น
5. เก็บไข่ออกทุกวัน และนำไปรวบรวมไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอการเข้าตู้ฟัก แต่ผู้เลี้ยงจะต้องมีไข่ปลอมวางไว้เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศวางไข่ติดต่อไปเรื่อยๆ และควรจะขังนกกระจอกเทศไว้ด้านนอกโรงเรือนก่อนที่จะเก็บไข่ออก เพราะนกกระจอกเทศช่วงผสมพันธุ์จะดุร้าย อาจทำอันตรายผู้เลี้ยงได้
6. ตรวจสุขภาพนกกระจอกเทศทุกวัน หากมีปัญหาหรือมีอาการผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยทันที
7. ตรวจดูสภาพภายในโรงเรือนเป็นประจำทุกวัน หากอุปกรณ์ใดชำรุดจะต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ทันที หรือแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้งานได้ต่อไป
8. จดบันทึกการให้ผลผลิต การตาย การกินอาหาร การให้ยา วัคซีน และอื่นๆ เป็นประจำทุกวัน


การให้อาหาร
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช กระเพาะจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด จะมีลักษณะเหมือนกระเพาะไก่ และกระเพาะพักจะมีลักษณะเหมือนกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ ดังนั้น อาหารนกกระจอกเทศ จึงควรเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์เล็กๆ เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือแมลงต่างๆ นอกจากนี้ นกกระจอกเทศยังจิกกินก้อนหิน หรือหินเกล็ดเล็กๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบด สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์ม อาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้เลี้ยงจะต้องคำนวณให้ตรงตามความต้องการของนกกระจอกเทศในแต่ละช่วงอายุ โดยจะต้องมีแร่ธาตุอาหารครบถ้วนและเพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม ความต้องการอาหารในแต่ละช่วงอายุ สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้


 
ปัญหาในการเลี้ยง
การเลี้ยงในระยะ 1-3 เดือนแรกเป็นช่วงที่มีปัญหามากสำหรับผู้เลี้ยง แต่ถ้าทำตามขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง ปัญหาการตายของลูกนกก็จะลดลง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ผู้เลี้ยงจะต้องฝึกให้ลูกนกระจอกเทศรู้ว่า แหล่งอาหารอยู่ตรงไหน เพื่อไม่ให้นกกระจอกเทศไปกินดิน กินหญ้า เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของลูกนกยังอ่อนแอ


ทำไมการเลี้ยงนกกระจอกจึงน่าสนใจ ?
- มีปัญหาน้อยเกี่ยวกับโรคระบาด พยาธิ โรคอื่นๆ รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเนื้อนกกระจอกเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับการวิจัยและพัฒนาตลาด
- ตลาดมีความต้องการพ่อแม่พันธุ์นกกระจอกเทศ เนื่องจากการเลี้ยงนกกระจอกเทศกำลังได้รับความสนใจและขยายตัวอย่างรวดเร็ว


แหล่งข้อมูล
เกษตรสร้างอาชีพ "ฟาร์มนกกระจอกเทศ,".นิตยสารเส้นทางเศรษฐี. ฉบับที่ 74 เดือนเมษายน ปี 2544,หน้า 43-45.
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ. http://web.ku.ac.th/agri/ostrich/

http://www.ismed.or.th/SME2/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail&p=&nid=&sid=51&id=1784&left=54&right=55&level=3&lv1=3

การเลี้ยงหมูหลุม เศรษฐกิจแบบพอเพียง



http://www.youtube.com/watch?v=5PNP9NLKfRA&feature=related

10 สัตว์ป่าสู่สัตว์เศรษฐกิจ



http://www.youtube.com/watch?v=kmMJZjsiNzE

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนการตลาดของบริษัทชื่อดัง

         บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หรือ “กลุ่มซีพีเอฟ”เป็นกลุ่มบริษัทผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศไทย โดยมีฐานการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทยและบางส่วนในต่างประเทศโดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาดของซีพีเอฟจำนวนประมาณ 23,913 ล้านบาท
ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวขึ้นเป็น “ครัวของโลก” (Kitchen of the World) บริษัทมุ่งมั่นที่จะผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อการบริโภค สอดคล้องกับความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และจัดจำหน่ายในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพในประเทศต่างๆ
บริษัทมีเป้าหมายในการคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารสัตว์พร้อมๆ กับต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจเนื้อสัตว์และอาหารทั้งในประเทศไทยและในทุกประเทศที่บริษัทมีการลงทุน พร้อมกับความมุ่งหวังในการสร้างผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
กับการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร และการส่งเสริมกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
การดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ (1) ธุรกิจสัตว์บก และ (2) ธุรกิจสัตว์น้ำ โดยธุรกิจสัตว์บกมีสินค้าหลักครอบคลุมในกลุ่มของไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด และสุกร โดยธุรกิจสัตว์น้ำมีสินค้าหลักครอบคลุมในกลุ่มของกุ้งและปลาผลิตภัณฑ์ของแต่ละธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดหลัก คือ หมวดอาหารสัตว์ หมวดเนื้อสัตว์ (รวมถึงสัตว์มีชีวิต)และเนื้อสัตว์ปรุงสุกและผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน


กลยุทธ์การดำเนินงาน

      เป็นที่ทราบกันแล้วว่า CP เติบโตจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ ซึ่งมีคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของโดยลักษณะของชนชาติจีนนั้นมีความชำนาญในด้านการค้าขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีความรู้และความเชื่อที่ถือเป็นศาสตร์ที่นับถือกันมามากกว่าพันปีแล้ว ได้แก่ความรู้ด้าน “โหงวเฮ้ง” มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการของบริษัท สิ่งเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะผลงานของ CP นั้นเป็นสิ่งที่ยืนยันอยู่แล้วว่า กลยุทธ์การดำเนินงานของ CP นั้น เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่จากการดูงานที่บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และการบรรยายของ นายอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการด้านประสานกิจกรรมสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การตลาดหลายประการ พบว่ากลยุทธ์เหล่านี้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงที่ทันต่อเหตุการณ์ อยู่ตลอดเวลาขณะเดียวกัน กลยุทธ์เหล่านี้ถูกกำหนดโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของบริษัทซึ่งบริษัทได้เน้นหนักตลอดเวลาในการพัฒนา บุคลากรโดยการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ พอจะกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดแผนและการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่

-ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
-บุคลากรที่คิดเป็น มีคุณภาพด้านการปฏิบัติและการแก้ปัญหา
-ระบบการบริหารจัดการ
ขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผน  ในที่นี้ เป็นการวิเคราะห์ประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ SWOT  ภายใต้หลักคิดที่ CP ยึดถือ

หลักคิด
1. ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำสงครามของ “ซุนวู” จากเรื่อง “สามก๊ก” ได้แก่
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
2. ใช้แนวทาง “เถ้าแก่น้อย”

การวิเคราะห์ SWOT ของประเทศไทย
  1. จุดแข็งด้านสังคม 
1.ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร
2.กสิกรรมอยู่ในสายเลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย
ด้านเศรษฐกิจ
•ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง ๆ

  2. จุดอ่อน
ปัญหาด้านการผลิต
•ขาดวิชาการและเทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย  เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ
•เพิ่มผลผลิตโดยวิธีขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่
•ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล
•เกษตรกรไทย “ยิ่งทำยิ่งจน” กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส
ปัญหาด้านการตลาด  (ภายในประเทศ)
•อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน
•ช่องทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง
•ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์  ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด
ปัญหาด้านยุทธศาสตร
•สินค้าเกษตรถูกกดราคาเพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น “ไข่” กลายเป็นสินค้าการเมือง  ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล
•ข้อมูลการตลาดไม่ชัดเจน และล่าช้า
•ขาดการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต – แปรรูป ไปจนถึงการจำหน่าย
•การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

  3. อุปสรรค
อุปสรรคด้านตลาดโลก
•ผลกระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน  และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ
•สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ  เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย
4. โอกาส
สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภคจากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปผล สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ซึ่ง CP ได้สรุปไว้และใช้เป็นแนวทางของบริษัทในการดำเนินงานด้านการตลาด


เป้าหมาเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
             บริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งไปสู่การเป็น “ครัวของผู้บริโภคทั่วโลก” (Kitchen of the World) ที่จะเป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อการบริโภคด้วยความมุ่งมันที่จะพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของ
ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมาก
ขึ้นบริษัทมีเป้าหมายในการคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารสัตว์ที่เป็นธุรกิจอาหารสัตว์ที่เป็นธุรกิจ
แรกเริ่มของบริษัท พร้อม ๆไปกับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในธุรกิจเนื้อสัตว์และอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้ง
ในประเทศไทยและในทุกประเทศี่กลุ่มบริษัทซีพีเอฟ มีการลงทุน พร้อมไปกับความมุ่งหวังในการ
สร้างผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีการดูแลกำกับกิจการที่ดี เพื่อให้มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง
สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล
http://www.bc.msu.ac.th/~std51010912628/BITM/CP02.php

การผลิตไก่เนื้อในประเทศไทย

          ไก่จัดว่าเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน จากจุดเริ่มต้นที่มีการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน โดยใช้ไก่พันธุ์พื้นเมือง1 และปล่อยให้คุ้ยเขี่ยอาหารเอง เมื่อถึงอายุที่สามารถขายได้ จะส่ง
เข้าโรงเชือดและส่งเนื้อออกขายยังตลาดสด วิธีการดังกล่าวส่งผลทำให้มีเนื้อไก่ออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทั้งยังส่งผลให้ราคาขายปลีกอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ

          จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2463 การเลี้ยงไก่เริ่มกลายมาสู่การเลี้ยงเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่ ฟาร์มบางเบิดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2 นับแต่นั้นเป็นต้นมารูปแบบการเลี้ยงไก่ถูกพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในการเลี้ยง จากรูปแบบการเลี้ยงในครัวเรือน มาสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นฟาร์มเป็นอาชีพ จนเกิดการแยกสายพันธุ์ มีพันธุ์เนื้อ พันธุ์ไข่ เป็นต้น

          พัฒนาการเหล่านี้ส่งผลทำให้มีปริมาณเนื้อไก่เพื่อการบริโภคออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาไก่เนื้อปรับตัวลดลง พร้อมกับการเลี้ยงไก่ในระบบฟาร์มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับได้รับ
การสนับสนุนจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อย่างไรก็ตามการผลิตไก่เพื่อการพาณิชย์ยังคงเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2516 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์จำกัด ได้ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติทดลองส่งไก่สดแช่แข็งไปประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในนามของบริษัทกรุงเทพค้าสัตว์ จำกัด นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่มีการส่งออกเนื้อไก่เพื่อการพาณิชย์ไปยังต่างประเทศ

         พัฒนาการะยะต่อมาของอุตสาหกรรมไก่เนื้อ พบว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการส่งออกในลักษณะของไก่สด มาสู่ลักษณะของไก่แปรรูป โดยเริ่มต้นภายใต้เป้าหมายที่จะแสวงหามูลค่าเพิ่มของสินค้า ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2534 และจากจุดนั้นเองอุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทยได้กลายมาเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกอันดับต้นๆของประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า แม้ปริมาณการผลิตและการส่งออกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนแบ่งทางการตลาดของอุตสาหกรรมไก่เนื้อกลับมีลักษณะการวิ่งเข้าสู่ลักษณะของการผูกขาดมากขึ้น มีการกระจุกตัวอยู่ในมือของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนมหาศาล และเหลือพื้นที่ให้กับเกษตรกรรายย่อยไม่มากนัก และมีแนวโน้มว่าในอนาคต อุตสาหกรรมไก่เนื้อจะมีเข้าใกล้ความเป็นตลาดผูกขาด (Monopoly) ซึ่งผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อของประเทศก่อนที่จะนำไปสู่การสรุปสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
http://sadathailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=13&catid=11:plan1&Itemid=35