วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนการตลาดของบริษัทชื่อดัง

         บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หรือ “กลุ่มซีพีเอฟ”เป็นกลุ่มบริษัทผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศไทย โดยมีฐานการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทยและบางส่วนในต่างประเทศโดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาดของซีพีเอฟจำนวนประมาณ 23,913 ล้านบาท
ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวขึ้นเป็น “ครัวของโลก” (Kitchen of the World) บริษัทมุ่งมั่นที่จะผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อการบริโภค สอดคล้องกับความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และจัดจำหน่ายในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพในประเทศต่างๆ
บริษัทมีเป้าหมายในการคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารสัตว์พร้อมๆ กับต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจเนื้อสัตว์และอาหารทั้งในประเทศไทยและในทุกประเทศที่บริษัทมีการลงทุน พร้อมกับความมุ่งหวังในการสร้างผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
กับการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร และการส่งเสริมกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
การดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ (1) ธุรกิจสัตว์บก และ (2) ธุรกิจสัตว์น้ำ โดยธุรกิจสัตว์บกมีสินค้าหลักครอบคลุมในกลุ่มของไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด และสุกร โดยธุรกิจสัตว์น้ำมีสินค้าหลักครอบคลุมในกลุ่มของกุ้งและปลาผลิตภัณฑ์ของแต่ละธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดหลัก คือ หมวดอาหารสัตว์ หมวดเนื้อสัตว์ (รวมถึงสัตว์มีชีวิต)และเนื้อสัตว์ปรุงสุกและผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน


กลยุทธ์การดำเนินงาน

      เป็นที่ทราบกันแล้วว่า CP เติบโตจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ ซึ่งมีคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของโดยลักษณะของชนชาติจีนนั้นมีความชำนาญในด้านการค้าขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีความรู้และความเชื่อที่ถือเป็นศาสตร์ที่นับถือกันมามากกว่าพันปีแล้ว ได้แก่ความรู้ด้าน “โหงวเฮ้ง” มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการของบริษัท สิ่งเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะผลงานของ CP นั้นเป็นสิ่งที่ยืนยันอยู่แล้วว่า กลยุทธ์การดำเนินงานของ CP นั้น เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่จากการดูงานที่บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และการบรรยายของ นายอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการด้านประสานกิจกรรมสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การตลาดหลายประการ พบว่ากลยุทธ์เหล่านี้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงที่ทันต่อเหตุการณ์ อยู่ตลอดเวลาขณะเดียวกัน กลยุทธ์เหล่านี้ถูกกำหนดโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของบริษัทซึ่งบริษัทได้เน้นหนักตลอดเวลาในการพัฒนา บุคลากรโดยการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ พอจะกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดแผนและการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่

-ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
-บุคลากรที่คิดเป็น มีคุณภาพด้านการปฏิบัติและการแก้ปัญหา
-ระบบการบริหารจัดการ
ขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผน  ในที่นี้ เป็นการวิเคราะห์ประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ SWOT  ภายใต้หลักคิดที่ CP ยึดถือ

หลักคิด
1. ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำสงครามของ “ซุนวู” จากเรื่อง “สามก๊ก” ได้แก่
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
2. ใช้แนวทาง “เถ้าแก่น้อย”

การวิเคราะห์ SWOT ของประเทศไทย
  1. จุดแข็งด้านสังคม 
1.ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร
2.กสิกรรมอยู่ในสายเลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย
ด้านเศรษฐกิจ
•ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง ๆ

  2. จุดอ่อน
ปัญหาด้านการผลิต
•ขาดวิชาการและเทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย  เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ
•เพิ่มผลผลิตโดยวิธีขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่
•ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล
•เกษตรกรไทย “ยิ่งทำยิ่งจน” กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส
ปัญหาด้านการตลาด  (ภายในประเทศ)
•อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน
•ช่องทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง
•ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์  ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด
ปัญหาด้านยุทธศาสตร
•สินค้าเกษตรถูกกดราคาเพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น “ไข่” กลายเป็นสินค้าการเมือง  ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล
•ข้อมูลการตลาดไม่ชัดเจน และล่าช้า
•ขาดการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต – แปรรูป ไปจนถึงการจำหน่าย
•การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

  3. อุปสรรค
อุปสรรคด้านตลาดโลก
•ผลกระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน  และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ
•สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ  เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย
4. โอกาส
สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภคจากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปผล สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ซึ่ง CP ได้สรุปไว้และใช้เป็นแนวทางของบริษัทในการดำเนินงานด้านการตลาด


เป้าหมาเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
             บริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งไปสู่การเป็น “ครัวของผู้บริโภคทั่วโลก” (Kitchen of the World) ที่จะเป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อการบริโภคด้วยความมุ่งมันที่จะพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของ
ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมาก
ขึ้นบริษัทมีเป้าหมายในการคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารสัตว์ที่เป็นธุรกิจอาหารสัตว์ที่เป็นธุรกิจ
แรกเริ่มของบริษัท พร้อม ๆไปกับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในธุรกิจเนื้อสัตว์และอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้ง
ในประเทศไทยและในทุกประเทศี่กลุ่มบริษัทซีพีเอฟ มีการลงทุน พร้อมไปกับความมุ่งหวังในการ
สร้างผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีการดูแลกำกับกิจการที่ดี เพื่อให้มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง
สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล
http://www.bc.msu.ac.th/~std51010912628/BITM/CP02.php

การผลิตไก่เนื้อในประเทศไทย

          ไก่จัดว่าเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน จากจุดเริ่มต้นที่มีการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน โดยใช้ไก่พันธุ์พื้นเมือง1 และปล่อยให้คุ้ยเขี่ยอาหารเอง เมื่อถึงอายุที่สามารถขายได้ จะส่ง
เข้าโรงเชือดและส่งเนื้อออกขายยังตลาดสด วิธีการดังกล่าวส่งผลทำให้มีเนื้อไก่ออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทั้งยังส่งผลให้ราคาขายปลีกอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ

          จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2463 การเลี้ยงไก่เริ่มกลายมาสู่การเลี้ยงเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่ ฟาร์มบางเบิดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2 นับแต่นั้นเป็นต้นมารูปแบบการเลี้ยงไก่ถูกพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในการเลี้ยง จากรูปแบบการเลี้ยงในครัวเรือน มาสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นฟาร์มเป็นอาชีพ จนเกิดการแยกสายพันธุ์ มีพันธุ์เนื้อ พันธุ์ไข่ เป็นต้น

          พัฒนาการเหล่านี้ส่งผลทำให้มีปริมาณเนื้อไก่เพื่อการบริโภคออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาไก่เนื้อปรับตัวลดลง พร้อมกับการเลี้ยงไก่ในระบบฟาร์มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับได้รับ
การสนับสนุนจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อย่างไรก็ตามการผลิตไก่เพื่อการพาณิชย์ยังคงเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2516 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์จำกัด ได้ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติทดลองส่งไก่สดแช่แข็งไปประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในนามของบริษัทกรุงเทพค้าสัตว์ จำกัด นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่มีการส่งออกเนื้อไก่เพื่อการพาณิชย์ไปยังต่างประเทศ

         พัฒนาการะยะต่อมาของอุตสาหกรรมไก่เนื้อ พบว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการส่งออกในลักษณะของไก่สด มาสู่ลักษณะของไก่แปรรูป โดยเริ่มต้นภายใต้เป้าหมายที่จะแสวงหามูลค่าเพิ่มของสินค้า ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2534 และจากจุดนั้นเองอุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทยได้กลายมาเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกอันดับต้นๆของประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า แม้ปริมาณการผลิตและการส่งออกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนแบ่งทางการตลาดของอุตสาหกรรมไก่เนื้อกลับมีลักษณะการวิ่งเข้าสู่ลักษณะของการผูกขาดมากขึ้น มีการกระจุกตัวอยู่ในมือของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนมหาศาล และเหลือพื้นที่ให้กับเกษตรกรรายย่อยไม่มากนัก และมีแนวโน้มว่าในอนาคต อุตสาหกรรมไก่เนื้อจะมีเข้าใกล้ความเป็นตลาดผูกขาด (Monopoly) ซึ่งผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อของประเทศก่อนที่จะนำไปสู่การสรุปสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
http://sadathailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=13&catid=11:plan1&Itemid=35

ภาวะเศรษฐกิจปี 2554 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555

        การเติบโตของภาวะเศรษฐกิจการเกษตรได้รับอิทธพลจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ รวมทั้งปัจจัยทางธรรมชาติซึ่งมีความแปรปรวนและยากต่อการคาดการณ์ สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ประมาณการอัตราการเติบโตของภาคเกษตรในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ภาคเกษตรเติบโตได้ในระดับสูง เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างเป็นปกติ แต่จากปัญหาอุทกภัยที่เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ได้ขยายเป็นวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรและผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด

ในด้านปศุสัตว์
         การผลิตภาพรวมสาขาปศุสัตว์ปี 2554 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา โดยสถานการณ์ปศุสัตว์ทั้งไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้านมดิบ มีภาวะการผลิตที่ดีขึ้นจากปี 2553 กล่าวคือ การผลิตเนื้อมีระบบการผลิตที่ดีและปลอดภัย ทาให้ความสูญเสียจากปัญหาโรคระบาดลดลงมีผลผลิตสู่ตลาดสม่าเสมอและกลับเข้าสู่ภาวะปกติและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ประกอบกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อของตลาดในประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสุกรที่มีปริมาณลดลงและมีราคาสูงขึ้น ด้านการผลิตไข่ไก่มีการขยายเพิ่มขึ้นจากแม่พันธุ์ไก่ไข่รุ่นใหม่ที่ให้ผลผลิตได้มากขึ้น ประกอบกับประสิทธิภาพการผลิตไก่ไข่ที่ดีขึ้นจาก
การพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์การเลี้ยง ขณะที่ภาวะการผลิตน้านมดิบมีปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเนี่องจากแรงจูงใจด้านราคาและจานวนแม่โคที่เพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตสุกรหดตัวลงจากสถานการณ์โรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) สาหรับสาขาปศุสัตว์โดยรวมไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้าท่วมมากนัก ส่วนสถานการณ์ด้านราคาปศุสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมมา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2555

         คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2555 จะขยายตัวต่อเนื่องอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 ภายใต้สภาพพื้นฟ้าอากาศที่เป็นปกติ ไม่มีภัยภิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง อาทิ ภัยแล้ง อุทกภัย รวมทั้ง ไม่มีปัญหาแมลงศรัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ โดยสาขาพืชมีทิศทางเติบโตได้ดี เนื่องจากราคาพืชส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตมากขึ้น สาหรับสาขาปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน รวมทั้งราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนสาขาประมงมีแนวโน้มเพิ่มเช่นกัน แต่ยังมีความอ่อนไหวจากสภาพอากาศที่มีความผันผวน รวมถึงราคาน้ามันและราคาอาหารสัตว์น้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก อาทิ ความผันผวนเศรษฐกิจโลก อัตราการแลกเปลี่ยน และราคาน้ามัน

        การผลิตสาขาปศุสัตว์ปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1 - 3.1 เนื่องจากการเกษตรมีการปรับระบบการเลี้ยงที่ดีขึ้น ซึ่งจะลดปัญหาโรคระบาดทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีการปรับปรุงมาตรฐานฟาร์ม กระบวนการควบคุม และเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การผลิตในสาขาปศุสัตว์ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน โรคระบาด ภัยธรรมชาติ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาหรับราคาปศุสัตว์โดยเฉลี่ยในปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งไก่เนื้อ สุกร และน้านมดิบ จากความต้องการบริโภค ขณะที่ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณผลผลิตที่มากขึ้น

http://www.thaifishmeal.com/books/Agricultural%20Economic%20Outlook.pdf

คลิปแมวสุดน่ารักที่คุณจะต้องนั่งยิ้ม!~♥



http://www.youtube.com/watch?v=IytNBm8WA1c

มาตรฐานการเลี้ยงไก่เนื้อของประเทศไทยในปัจจุบัน

         ปัจจุบันการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศไทยมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงและการจัดการอย่างมาก  เป็นผลเนื่องมาจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่อันดับ 5 ของโลก ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพและขั้นตอนการเลี้ยงอย่างต่อเนื่องจึงถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลกด้วย
จากเหตุผลข้างต้นเพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจึงได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องมาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อ  ซึ่งเน้นการจัดการที่ถูกสุขลักษณะรวมไปถึงสภาพโรงเรือนและสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้การออกกฎหมายบังคับให้มีการขออนุญาตเคลื่อนย้ายไก่ทุกขั้นตอนยังเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยป้องกันเรื่องโรคระบาด โดยการขออนุญาตเคลื่อนย้ายมีทั้งหมด 3 ช่วง เริ่มตั้งแต่การเคลื่อนย้ายลูกไก่เนื้อจากโรงฟักเพื่อเข้าเลี้ยงในฟาร์มไก่เนื้อ, การขออนุญาตเคลื่อนย้ายไก่ใหญ่เพื่อเข้าโรงงานชำแหละ และการขออนุญาตเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนไก่สดจากโรงงานชำแหละเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคหรือเข้าโรงงานแปรรูปต่อไป  ซึ่งก่อนการเคลื่อนย้ายแต่ละขั้นตอนจะต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดโรคแล้วเท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้ จะเห็นได้ว่ามีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยกรมปศุสัตว์ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ฟาร์มจนมาเป็นเนื้อไก่ที่ปลอดภัยถึงมือผู้บริโภค  ดังนั้นจึงนับได้ว่าเนื้อไก่ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย



http://www.broilerassociation.or.th/index.php?p=foodsafety_detail&lang=th&id=1